การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • อัญชลี จักร์สาน หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่
  • สุภารัตน์ หมื่นโฮ้ง หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่
  • แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:            การจัดการความปวดอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยหลังผ่าตัด สามารถยืนยันถึงผลลัพธ์ที่ดีได้ต้องอาศัยแนวปฏิบัติทางคลินิก และพัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ยืนยันถึงผลลัพธ์อันพึงประสงค์ 

วัตถุประสงค์:    เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่  

วิธีการศึกษา:  : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational study) ดำเนินการศึกษาตามกรอบแนวคิดการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ของสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย ทีมพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกฯ คัดเลือกแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลของการนำแนวปฏิบัติทางคลินิคไปใชประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 16 คน 2) ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่  ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดหลังผ่าตัด แบบรวบรวมผลลัพธ์การจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ได้แก่ การให้ข้อมูลการจัดการความปวดก่อนผ่าตัด การประเมินระดับความปวด การจัดการความปวดแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา การประเมินซ้ำ และแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ exact probability test

ผลการศึกษา:    พบว่า แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการดูแลผู้ป่วยร้อยละ 87.5 ผู้ปฏิบัติเกิดความพึงพอใจร้อยละ 87.25 ผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการจัดการความปวดอย่างเหมาะสมทุกตัวชี้วัด (ทุกตัวชี้วัดมีค่า p<0.001) ผู้ป่วยได้รับข้อมูลการจัดการความปวดก่อนผ่าตัดร้อยละ 96.67 (p<0.001)) และได้รับการจัดการความปวดหลังผ่าตัดร้อยละ 100 (p<0.001) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเจ็บปวดลดลงแต่ยังคงมีอาการปวด จำนวน 18 คน ร้อยละ 60.00 รองลงมามีความปวดลดลงทั้งหมด จำนวน 11 คน ร้อยละ 36.67

สรุป:              ผลการวิจัยสนับสนุนแนวปฏิบัติทางคลินิกที่สร้างขึ้น นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี สามารถนำไปใช้ในการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้

คำสำคัญ:      การจัดการความปวด, ผู้ป่วยหลังผ่าตัด, แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดหลังผ่าตัด


  

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

วิธีการอ้างอิง