ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวด ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ประวีณา อัศวพลไพศาล โรงพยาบาลแพร่
  • ประวีณา อัศวพลไพศาล โรงพยาบาลแพร่
  • จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:           ความปวดเป็นปัญหาที่พบในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม เกิดขึ้นจากการรักษา การช่วยชีวิตจากหัตถการทางการแพทย์ และการพยาบาล ส่งผลให้อัตราการตาย ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนวันนอนเพิ่มขึ้นได้ คณะผู้วิจัยจึงนำแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตมาใช้เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

วัตถุประสงค์:    เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวด และคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม
กลุ่มที่ไม่ใช้และใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต

วิธีการศึกษา:    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) รูปแบบ Interrupted time design ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ (major surgery) เข้ารับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ (major surgery) เข้ารับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2564 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มตัวอย่างก่อนการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 22 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 22 ราย ประเมินระดับความปวด และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนกลุ่มที่ไม่ใช้และใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ด้วยสถิติ Independent t-test

ผลการศึกษา:   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต มีคะแนนความปวดที่ลดลง (=2.24 ) มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติ  =1.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติ (=7.91) มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติ (=5.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000  

สรุป:              การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต ช่วยบรรเทาความปวดเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต

คำสำคัญ:        ประสิทธิผล, แนวปฏิบัติทางคลินิก, การจัดการความปวด, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง