ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคจอตาที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตา ในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • มะลิ การะปักษ์ โรงพยาบาลแพร่
  • อรพิน มโนรส โรงพยาบาลแพร่
  • จันทิรา ชัยสุขโกศล โรงพยาบาลแพร่
  • เพ็ญศรี ปัญโญ โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ             การดูแลผู้ป่วยโรคจอตาที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตา เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาเข้าน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษาและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังฉีดยาเข้าน้ำวุ้นลูกตาจึงมีความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยเรื่องผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตาที่หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่

วัตถุประสงค์    เพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดและความพึงพอใจของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตาที่หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่

วิธีการศึกษา    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย intervention ประชาการที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคจอตาที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตา ในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่ทำการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2563 ถึงกุมภาพันธ์  2564 จำนวน 88 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ จำนวน 44 ราย และกลุ่มที่ได้การดูแลตามแนวปฏิบัติ จำนวน 44 ราย วิเคราะห์ผลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติทดสอบ Chi-square และ Independent t-test

ผลการศึกษา    ความเจ็บปวดจากการได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตามีความสัมพันธ์กับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=<0.001) โดยคะแนนความพึงพอใจต่อการพยาบาล ทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=<0.001

สรุป              แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคจอตาที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตามีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคจอตาที่ได้รับการฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตา ในหอผู้ป่วยจักษุ โสต  ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่

คำสำคัญ         ประสิทธิผล, แนวปฏิบัติทางคลินิก, การดูแลผู้ป่วยโรคจอตา, การฉีดยาอวาสตินเข้าน้ำวุ้นตา

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง