ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปี 2562 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ภมร เลิศวรวิทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย

บทคัดย่อ

บทนำ:           วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก โดยสาเหตุการเสียชีวิตเกิดได้จากการรักษาที่ไม่เหมาะสมและการเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยา โดยเภสัชกรมีบทบาทในกระบวนการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ในด้านการติดตามความร่วมมือในการใช้ยา การตรวจสอบความเหมาะสมของขนาดยา และการประเมินหาสาเหตุ ของการเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยา

วัตถุประสงค์:    เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

วิธีการศึกษา:    งานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เด่นชัย ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 ผู้เข้าร่วมการศึกษา 46 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มทดลอง) และกลุ่มที่ไม่ได้รับการบริบาลทาง เภสัชกรรม 86 คน (กลุ่มควบคุม) ที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง การศึกษาใช้การสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริบาลเภสัชกรรม ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย

ผลการศึกษา:    ผลการรักษาเมื่อสิ้นสุดการรักษา กลุ่มทดลองหลังดำเนินการใช้การบริบาลทางเภสัชกรรม มีรักษาหายร้อยละ 71.1 รักษาครบร้อยละ 6.5 รวมเป็นร้อยละ 77.2 ซึ่งได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 และร้อยละของผู้ป่วยที่เสียชีวิตของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ นอกจากนี้ยัง พบว่าปัญหาจากการใช้ยาของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มที่ควบคุม โดยเฉพาะการได้รับยา Isoniazid (4-6 mg/kg/day) ทั้ง dosage too high และ dosage too low พบปัญหาการใช้ที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05

สรุป:              การใช้รูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค ทําให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาและสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้มากขึ้น ส่งผลต่อความสำเร็จของการรักษาวัณโรคปอด

คำสำคัญ:         วัณโรคปอด, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง