ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ประทุมพิศ ผลดีประสิทธิ์ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:            โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย มีการศึกษาเพื่อยืนยันประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าช่วยลดค่าความดันโลหิตได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาในหอผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาล และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาล และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อการใช้แนวปฏิบัติ

วิธีการศึกษา   การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) แบบสองกลุ่ม เปรียบเทียบค่าความดันโลหิต ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม ทำการศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือนมีนาคม 2564 และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติ โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบด้วยสถิติ ที (t-test)

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการจัดการพยาบาล ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ พยาบาลและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อการใช้แนวปฏิบัติ

สรุป:               แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ รวมทั้งพยาบาล และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ จึงควรมีการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในหอผู้ป่วย ที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้ารับการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ในการให้บริการของโรงพยาบาลแพร่ต่อไป

คำสำคัญ:        แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08

วิธีการอ้างอิง