ความสัมพันธ์ของระดับดัชนีมวลกายกับระยะเวลาของการเกิดภาวะปอดอักเสบ ในผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ครองขวัญ ฉลองแดน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธีรพงษ์ กองสินแก้ว ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุกฤษฎิ์ กาญจนสุระกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาและกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลแพร่
  • ปาริชาติ นิยมทอง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ธานินทร์ ฉัตราภิบาล ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, ภาวะปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

บทนำโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายระบบรวมถึงการเกิดปอดอักเสบ การศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าค่าดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคที่สำคัญ แต่ยังมีการศึกษาน้อยในประเทศไทย

วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการปลอดจากภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยยืนยันโรคและเปรียบเทียบอัตราเสี่ยง (Hazard ratio) ในการเกิดภาวะปอดอักเสบ COVID-19 ตามค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI )

วิธีการศึกษา:  การศึกษาแบบ Retrospective cohort study ในผู้ป่วยยืนยัน COVID-19  อายุ 18-80 ปี รับการรักษาในโรงพยาบาลแพร่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 1 กันยายน 2564 ข้อมูลได้จากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 357 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มระดับ BMI น้อยกว่า 18.5 kg/m2 กลุ่ม BMI มากกว่า 23.0 kg/m2 กลุ่ม BMI 18.5-23.0 kg/m2 (กลุ่มเปรียบเทียบ) ระยะเวลาติดตาม 14 วัน ศึกษาผลของค BMI ต่อระยะเวลาการเกิดภาวะ    ปอดอักเสบ โดยพิจารณาปัจจัยร่วม ได้แก่ เพศ อายุ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ค่า  Absolute lymphocyte count และค่า Lactase dehydrogenase วิเคราะห์ผลด้วย The Cox Proportional Hazard model แสดงในค่า Hazard ratio (HR) และ 95% Confidence interval (CI)

ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ที่มี BMI มากกว่า 23.0 kg/m2 มีระยะปลอดจากภาวะปอดอักเสบสะสั้นสุดที่ 6 วันและอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า (HR=2.1, 95%CI=1.42-3.12) 2.1 เทียบกับกลุ่มที่มี BMI ปกติ เมื่อปรับอิทธิพลของเพศ อายุ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่แสดงอาการของ COVID-19 ค่า Absolute lymphocyte count และค่า Lactase dehydrogenase

สรุป:  กลุ่มผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ที่มี BMI สูง มีอัตราการเกิดปอดอักเสบมากกว่าและมีระยะเวลาการเกิดสั้นกว่ากลุ่มค่าดัชนีมวลกายปกติ กลุ่มผู้ป่วยที่มี BMI น้อย อาจมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบได้

คำสำคัญ: ดัชนีมวลกาย, ภาวะปอดอักเสบ

เอกสารอ้างอิง

Lurie N, Saville M, Hatchett R, Halton J. Developing Covid-19 vaccines at pandemic speed. N Engl J Med 2020; 382(21):1969–73.

Valencia DN. Brief Review on COVID-19: The 2020 Pandemic caused by SARS-CoV-2. Cureus 2020;12(3).

Department of disease Control. No Title [Internet]. [16 September 2021]. Available from: https://ddc.moph. go. th/viralpneumonia/

Ang X, Yu Y, Xu J, Shu H, Xia J, Liu H, et al. Clinical course and outcomes of critically ill patients with SARS-CoV-2 pneumonia in Wuhan, China: a single-centered,retrospective, observational study. Lancet Respir Med 2020;8(5): 475–81. doi.org/10.1016/S2213-2600 (20)30079-5

Uan W, Ni Z, Hu Y, Liang W, Ou C, He J, et al. Clinical characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China. N Engl J Med 2020;382(18):1708–20.

Chetboun M, Raverdy V, Labreuche J, Simonnet A, Wallet F, Caussy C, et al. BMI and pneumonia outcomes in critically ill covid-19 patients: An international multicenter study. Obesity 2021;29(9):1477–86.

Wang D, Hu B, Hu C, Zhu F, Liu X, Zhang J, et al. Clinical characteristics of 138 hospitalized patients with 2019 novel coronavirus-infected pneumo- nia in Wuhan, China. JAMA - J Am Med Assoc 2020;323(11):1061–9.

Zhou F, Yu T, Du R, Fan G, Liu Y, Liu Z, et al. Clinical course and risk factors for mortality of adult inpatients with COVID-19 in Wuhan, China: a retros- pecttive cohort study. Lancet 2020; 395(10229):1054–62. doi.org/10. 1016/S0140-6736(20)30566-3

Srichatrapimuk S, Jayanama K, Kirdlarp S, Thammavaranucupt K, Suppadungsuk S, Wongsinin T, et al. Predictors of pneumonia and severe pneumonia in patients with corona- virus disease 2019 at a tertiary-care hospital, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2020;51(4): 507–17.

Kompaniyets L, Goodman AB, Belay B, Freedman DS, Sucosky MS, Lange SJ, et al. Body mass index and risk for COVID-19–related hospitalization, intensive care unit admission, Invasive mechanical ventilation, and death-United States, March–December 2020. MMWR Surveill Summ 2021;70(10):355–61.

Parag Goyal JJC. Corresp ondence clinical characteristics of Covid-19 in China. Cor resp ondence Clin Charact Covid-19 China 2020;100(1):1–3.

Kalligeros M, Shehadeh F, Mylona EK, Benitez G, Beckwith CG, Chan PA, et al. Association of obesity with disease severity among patients with Coronavirus Disease 2019. Obesity 2020;28(7):1200–4.

jayanama K, Srichatrapimuk S, Thammavaranucupt K, Kirdlarp S, Suppadungsuk S, Wongsinin T, et al. The association between body mass index and severity of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19): A cohort study. PLoS One 2021;16(2):1–10. doi. org/10.1371/ journal.pone.0247023.

Chu Y, Yang J, Shi J, Zhang P, Wang X. Obesity is associated with increased severity of disease in COVID-19 pneumonia: a systematic review and meta-analysis. Eur J Med Res 2020; 25(1):1–15. doi.org/10.1186/s40001-020-00464-9.

Bourke CD, Berkley JA, Prendergast AJ. Immune dysfunction as a cause and consequence of malnutrition. Trends Immunol 2016;37(6):386–98. doi.org/ 10.1016/j.it. 2016.04.003.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17

วิธีการอ้างอิง