ผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วัฒนาพร คำกัน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โปรแกรม TEDA4I, เด็ก 0-5 ปี, พัฒนาการล่าช้า

บทคัดย่อ

บทนำ:   โปรแกรม TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี เป็นเครื่องมือในการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ

วัตถุประสงค์:   เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ในโรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา:   เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษากลุ่มเดียวในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ในโรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ เด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองด้วย DSPM และ DAIM แล้วพบพัฒนาการล่าช้า และได้รับการกระตุ้นด้วย TEDA4I ครบ 3 เดือน จำนวนทั้งหมด 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกพฤติกรรมพัฒนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Fisher’s exact test และ Chi-square test

ผลการศึกษา:   เด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า หลังการได้รับกระตุ้นพัฒนาการด้วยโปรแกรม TEDA4I ในภาพรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ 59.8 โดยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากที่สุดในด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 87.0 รองลงมาคือ ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ร้อยละ 82.6 ด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 79.3 ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 65.2 และด้านการเคลื่อนไหว มีพัฒนาการดีขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ 55.4 นอกจากนี้พบว่าเด็กในแต่ละช่วงอายุมีพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมดีขึ้นจนกลับมาสมวัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเด็กในช่วงอายุ 37–48 เดือน และช่วงอายุ 49–60 เดือน มีพัฒนาการทั้งด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมดีขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 100.0

สรุป:    โปรแกรม TEDA4I ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ 59.8 และช่วงอายุที่ต่างกันมีผลต่อพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม

คำสำคัญ:  โปรแกรม TEDA4I, เด็ก 0-5 ปี, พัฒนาการล่าช้า

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต. ผลการใช้โปรแกรม TEDA4I ในเด็กบกพร่องทางพัฒนาการสติปัญญา สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต; 2562.

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัย พยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;5(1):281-96.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. การส่งเสริมพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

นิรมัย คุ้มรักษา, รัชดาวรรณ์ แดงสุข, ธัญหทัย จันทะโยธา. ผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารราชานุกูล 2561;33(1):19-29.

เอกชัย ลีลาวงศ์กิจ. 2563. ผลของการใช้เครื่องมือ TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2563;28(1):101-11.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สุภาพร แก้วใส, สมจิต แซ่ลิ้ม, เพียงนคร คำผา. การพัฒนาการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดยโสธร. ยโสธร: รายงานการวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร; 2561.

เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8. อุดรธานี: เขตสุขภาพที่ 8; 2560.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง