ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ปิยะรัตน์ สวนกูล งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลแพร่
  • หัสยาพร อิทยศ งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, ชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, กายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

บทนำ:  การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ จังหวัดแพร่พบมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากการพลัดตกหกล้มซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขตเทศบาลอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

วิธีการศึกษา:  เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ที่ศึกษาในเขตเทศบาลเมืองแพร่จำนวน 18 ชุมชน ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ถึง มกราคม 2565 โดยกลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบจำเพาะเจาะจง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีคะแนนความเสี่ยงจากการประเมินการพลัดตกหกล้มด้วย Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) อยู่ในช่วง 4-11 คะแนน และ/หรือ Time Up and Go Test (TUGT) มากกว่า 15 วินาที จำนวน 58 คน อาสาสมัครทั้งหมดได้รับโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และการทรงตัว โดยอาสาสมัครได้รับการติดตามผ่านการเยี่ยมบ้าน กลุ่ม Line application และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพี่เลี้ยง (buddy) การประเมินวิเคราะห์ข้อมูล Thai - FRAT และ TUGT ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการสรุปเชิงเนื้อหา (Narrative summary)

ผลการศึกษา: หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ผู้สูงอายุมีคะแนน Thai-FRAT (p<0.05) และมีผลการทดสอบ TUGT (p<0.05) ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย 24 สัปดาห์ ผู้สูงอายุหลังมีประวัติการหกล้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป:   รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุนี้ พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมวิจัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อประเมินด้วย Thai-FRAT และ TUGT และไม่พบอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้ม ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านร่วมกับการติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ

คำสำคัญ:  รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, ชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, กายภาพบำบัด

เอกสารอ้างอิง

Rubenstein LZ. Fall in older peo-ple: epidemiology, risk factors and strategies for prevention. Age Ageing 2006; 35(Suppl2:ill37-41. dol: 10.1093/ageing/ afl084

Rubenstein LZ, Josephson KR. Falls and Their Prevention in Elderly People:What Does the Evidence Show? Med Clin N Am 2006; 90 (5):807–24. doi:10.1016/j.mcna.2006.05.013.

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขพ.ศ 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.

ลักษณ์ ชุติธรรมานันท์, นิกร จันภิลม, ธนาวรรณ แสนปัญญา, สุวิชา จันทร์สุริยกุล. รายงานโครงการวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก จังหวัดแพร่. แพร่: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. แบบรายงานการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จังหวัดปีงบประมาณ 2562; แพร่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่; 2562.

Thiamwong L, Thamarpirat J, Manee sriwongul W, Jitapunkul S. Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Journal of the Medical Association of Thailand 2008;91(2): 1823-32.

โรงพยาบาลแพร่. แบบรายงานข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลแพร่ ปีงบประมาณ 2564. แพร่: โรงพยาบาลแพร่: 2564.

สำนักงานเทศบาลเมืองแพร่. แบบรายงานข้อมูลการคัดกรองสุขภาพและภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองแพร่. แพร่: สำนักงานเทศบาลเมืองแพร่: 2564.

ธัญญรัตน อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒนศรี ศรีสุวรรณ. รายงานการทบทวนวรรณกรรมอยางเปนระบบเรื่องมาตรการการปองกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายดานสุขภาพ; 2557.

พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121, ตอนพิเศษ 65 ก (ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547).

มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมการปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(2):134-50.

Podsiadlo D, Richardson S. The timed "Up & Go": A test of basic functional mobilityfor frail elderly persons. J Am Geriatr Soc 1991; 39(2):142-8.

ลัดดา เถียมวงศ์, วันทนา มณีศรีวงศ์กู, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. ปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2544;2:46-52.

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, ชลัญธร โยธาสมุทร. ยากันล้มคู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2558.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Paper presented at the annual meeting of AERA,San Francisco. Eric Document 1976;56. ED121845.

Haines TP, Bennell KL, Osborne RH, Hill KD. Effectiveness of targeted falls prevention programme in subacute hospital setting: randomized controlled trial. BMJ 2004;328(7441):676. doi: 10.1136/ bmj.328.7441.676.

รุ่งทิวา วัจฉละฐิติ, ภครตี ชัยวัฒน์. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ใน: คณาจารย์สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, บรรณาธิการ. กายภาพบำบัดเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: แสงดาว; 2555.

Chou CH, Hwang CL, Wu YT. Effect of exercise on physical function, daily living activities, and quality of life in the frail older adults: a meta-analysis. Arch Phys Med Rehabil 2012;93(2):237-44.

ภาวดี วิมลพันธุ์, ชนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;23(3):98-109.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์, ญาศิณี เคารพธรรม. สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ 2560;11(2):369-86.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง