ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของประชากรวัยทำงาน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (หมู่บ้าน พมพ.) ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • อนงค์ คำตั๋น ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ
  • วันเฉลิม ฤทธิมนต์ ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ
  • สุรางค์รัตน์ พ้องพาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

วัยทำงาน, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะโภชนาการเกินเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่พบมากในกลุ่มวัยทำงานเนื่องจากวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับการทำงาน จึงทำให้เกิดการละเลยการดูแลสุขภาพของตนเองและมีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ การมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการโดยนิยมรับประทานอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม พักผ่อนไม่เพียงพอขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และมีความเครียดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกิน
ของประชากรวัยทำงานกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง 305 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีภาวะโภชนาการเกิน และกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม อธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, Exact probability test และ Spearman’s Rank Correlation

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง
มีทัศนคติและมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่
การปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (rho=0.15, p-value=0.011)

สรุป: หน่วยงานสาธารณสุขควรมีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกตามหลักโภชนาการ สำหรับวัยทำงานกลุ่มชาติพันธุ์
บนพื้นที่สูง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโภชนาการเกิน โรคอ้วน และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

คำสำคัญ: วัยทำงาน, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะโภชนาการเกิน

เอกสารอ้างอิง

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการสอนโภชนาการและโภชนบำบัด [อินเตอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน [อินเตอร์เน็ต] .ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.

กรมอนามัย. ข้อมูลเฝ้าระวังกลุ่มวัยทำงาน[อินเตอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้ จาก: https: //dashboard.anamai.moph.go.th/surveillance/default/index?year=2022

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. วัยทำงานกับการดูแลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต] .ม.ป.ป.[เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_57.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากร ศาสตร์ ประชากรและเคหะ [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.

วุชธิตา คงดี. สถานการณ์ “โรคปัจจุบัน” ของกลุ่มคนวัยทำงานใน”โลกปัจจุบัน” [อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.

กรมสวัสดีการและคุ้มครองแรงงาน. กฎหมายแรงงาน [อินเตอร์เน็ต] .2554 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.labour.go.th/index. php/hm8/59-2011-06-02-10-06-00

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562–2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กรมอนามัย. การสำรวจข้อมูลด้านการส่งเสริม สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมทุกกลุ่มวัยในพื้นที่หมู่บ้านพัฒนา เพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (หมู่บ้าน พมพ.) และหมู่บ้านยามชายแดน. ลำปาง: ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ กรมอนามัย; 2564.

นิชาภา เลิศชัยเพชร. พฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยแรงงาน: กรณีศึกษาพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สมาคมนักประชากรไทย; 2563.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2560.

มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์. การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนในประเทศไทย. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2564.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ. 2562 เบาหวานความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง [อินเตอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2558;68-78.

Cochran WG. Sampling Techniques. New York: London; 1963.

Bloom B, Mastery learning. New York: Holt: Rinehart & Winston; 1971.

ภิษฐ์จีรัชญ์ พัชรกุลธนา, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่เขตเทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2558;5(2):131-8.

วรางคณา บุญยงค์, สุวลี โล่วิรกรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของวัยแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสหกรรมสิ่งทอ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 11(4):1-9.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรพรรณ มนสัจกุล.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14(35): 464-82.

โรงพยาบาลราชวิถี. โซเดียมตัวร้ายทำลายสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2558[เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3609

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง