ผลของสารกันเลือดแข็งต่อการวิเคราะห์ระดับโทรโปนินไอด้วยวิธีความไวสูง

ผู้แต่ง

  • อโณทัย เนียมอินทร์ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่
  • ณัฏฐพักตร์ ศีลวัตธำรง สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

สารกันเลือดแข็ง, โทรโปนินไอ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

บทนำ:  การวิเคราะห์ระดับโทรโปนินไอด้วยวิธีความไวสูง เพื่อวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีรายงานว่าสิ่งส่งตรวจชนิดพลาสมาจากหลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็ง สามารถนำมาใช้ตรวจวิเคราะห์ได้และใช้เวลาเตรียมตัวอย่างทดสอบน้อยกว่า จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำการศึกษาผลของสารกันเลือดแข็งชนิดลิเทียมเฮปารินและอีดีทีเอ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแนวทางเก็บสิ่งส่งตรวจของโรงพยาบาลแพร่ต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของสารกันเลือดแข็งที่มีต่อการวิเคราะห์ระดับโทรโปนินไอด้วยวิธีความไวสูง

วิธีการศึกษา:  การศึกษาเชิงพรรณนา โดยนำผลการตรวจหาระดับโทรโปนินไอด้วยวิธีความไวสูง จากสิ่งส่งตรวจที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งมาเปรียบเทียบกับสิ่งส่งตรวจที่มีสารกันเลือดแข็งชนิดลิเทียมเฮปารินและอีดีทีเอ ของโลหิตบริจาค โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 ราย ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคมถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ผลการศึกษาการ:  ปริมาณโทรโปนินไอ หลังจากเก็บตัวอย่าง 30, 60 และ 90 นาที ในตัวอย่างชนิดเดียวกันมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และเมื่อทำการเปรียบเทียบผลการตรวจระดับโทรโปนินไอของตัวอย่างเลือดที่มีลิเทียมเฮปารินกับเลือดที่มีอีดีทีเอ พบว่าค่าเฉลี่ยของผลการตรวจระดับโทรโปนินไอที่เวลา 30 นาที ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการตรวจตัวอย่างเลือดครบส่วนกับเลือดที่มีอีดีทีเอเป็นสารกันเลือดแข็ง พบว่าค่าเฉลี่ยของผลการตรวจระดับโทรโปนินไอแตกต่างกันทุกช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.007, 0.005 และ 0.004 ตามลำดับ                         

สรุปจากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดครบส่วนและหลอดเลือดที่มีลิเทียมเฮปาริน เป็นสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจหาปริมาณโทรโปนินไอ

คำสำคัญ:  สารกันเลือดแข็ง, โทรโปนินไอ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

เอกสารอ้างอิง

ณีรนุช พลูชนะ, ถวัลย์ ฤกษ์งาม, สมศักดิ์ ฟองสุภา. การศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำวิธีการวิเคราะห์ คาร์ดิแอกโทรโปนินระหว่าง High-Sensitivity Cardiac Troponin I และ High Sensitivity Cardiac Troponin T ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด NSTEMI. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562;27(3):272-78.

Adams JE, Abendschein DR, Jaffe AS. Biochemical markers of myocardial injury: is MB Creatine kinase the choice for the 1990. Circulation 1993;88(2):750-63.

Apple FS. Acute myocardial infarction and coronary reperfusion. Serum cardiac markers for the 1990s. Ameri J Clin Pathol 1992;97(2):217-26.

Katus HA, Scheffold T, Remppis A, Zehlein J. Proteins of the troponin complex. Lad Med 1992;23(5):311-7.

Adams JE, Schechtman K, Landt Y, Ladenson JH, Jaffe AS. Comparable detection of acute myocardial Infarction by creatine kinase MB isoenzyme and cardiac troponin I. Clin Chem 1994;40(7Pt1):1291-5.

Wilkinson JM, Grand RJA. Comparison of aminoacid sequence of troponin I from different Striated muscles. Nature 1987;271(5640):31-5.

Vichaibun V. Use of cardiac troponins as strong markers for patients with acute coronary syndrome. Rangsit Journal of Arts Sciences 2014;4(2): 163-75.

Thygesen K, Mair J, Katus H, Plebani M, Venge P, Collinson P, et al. Recommenda- tions for the use of cardiac troponin Measurement in acute cardiac care. Eur Heart J 2010;31(18):2197-204.

Than M, Herbert M, Flaws D, Cullen L, Hess E, Hollander JE, et al. What is an acceptable risk of major adverse cardiac Event in chest pain patients soon after discharge from the emergency department a Clinical survey. Lnt J Cardiol 2013;166(3): 752-4.

Than M, Cullen L, Aldous S, Parsonage WA, Reid CM, Greenslade J, et al. 2-Hour accelerated diagnostic protocol to assess patients with chest pain symptoms using contemporary troponins as the only biomarker: the ADAPT trial. J Am Coll Cardiol 2012;59(23):2019-98.

การตรวจ Troponin เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วย CCTA [อินเตอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// cimjournal.com/medical-news/การตรวจ-troponin-เพื่อใช้เป็น/

Roffi M, Patrono C, Collet JP, Mueller C, Valgimigli M, Andreotti F, et al. 2015 ESC guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation. Kardiol Pol 2015;73(12):1027-94

Jarolim P. High sensitivity cardiac troponin assays in the clinical laboratories. Clin Chem Lab Med 2014. doi: 10.1515/cclm-2014-0565

Thygesen K, Alpert JS, Jaffe AS, Simoons ML, Chaitman BR, White HD. Third universal definition of myocardial infarction. Eur Heart J 2012;33(20):2551-67.

Beckman Coulter. ACCESS Immunoassay System Instruction For Use C41140 C. n.p. ACCESS HIGH Sensitivity Troponin I; 2017.

World Health Oganization. Use of Anticoagulants in Diagnostic Laboratory Investigations. Geneva: WHO; 2002. Avialable from ://apps.who.int/ iris/ handle/10665/65957

Access hsTnI High Sensitivity Troponin I. Beckman Coulter Access Immunoassay Systems Instruction For Use C11140 C 2017:1-18.

Hamm CW, Goldmann BU, Heeschen C, Kreymann G, Berger J, Meinertz T. Emergency room triage of patients with acute chest pain by means of rapid testing for cardiac troponin T or troponin I. N Engl J Med. 1997;337(23):1648-53.

Osredkar J, Krivic K, Fabjan T, Kumer K, Trsan J, Poljancic L, et al. Point-of-care high-sensitivity assay on PATHFAST as the backup in the emergency room. Med Access Point care 2021; 5:1-8.doi: 10.1177/23992 026211055095

บุญศรี มหากิตติคุณ. การเจาะเลือดและการใช้สารกันเลือดแข็ง [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; ม.ป.ป. เข้าถึงได้จาก: http://www. Microscopy.ahs.chula.ac.th/newmicros/lecture/blood collecting.pdf

Banfi G, Salvagno GL, Lippi G. The role of ethylenediamine tetra acetic acid (EDTA) as in vitro anticoagulant for diagnostic purpose. Clin Chem Lab Med 2007;45(5):565-76.

ปนัดดา มีสุขประดับ. ความคงตัวของค่าทางเคมีในพลาสมาที่มีเฮปารินเป็นสารกันเลือดแข็งและสัมผัสเซลล์. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2555;24(1):41-3.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง