ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ
บทนำ: การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดมีความสำคัญอย่างมาก โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจเรื่องโรค การรักษาและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และช่วยให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกได้รับการผ่าตัดสำเร็จตามแผนการรักษาที่วางไว้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ ความสามารถ และระดับความพึงพอใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยใช้โมบายแอพพลิเคชั่นการให้ความรู้และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Quasi-experimental research ชนิด two group pretest -posttest design ศึกษาระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โมบายแอพพลิเคชั่นการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคต้อกระจก แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคต้อกระจก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Paired simples t-test และ Independent simples t-test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นมีความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดต้อกระจก ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจก มากกว่าผู้ป่วยที่เข้ารับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001, <0.001) และมีระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง
สรุป: โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นส่งผลต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจในอยู่ในระดับสูง
คำสำคัญ: โปรแกรมการให้ความรู้, แอพพลิเคชั่น, ผู้ป่วยต้อกระจก, การดูแลตนเอง
เอกสารอ้างอิง
Song P, Wang H, Theodoratou, E, Chan K Y, Rudan I. The national and subnational prevalence of cataract and cataract blindness in China: a systematic review and meta-analysis. J Glob Health 2018 8(1): 010804. doi: 10.7189/jogh.08-010804.
จารุวรรณ ชาติทอง, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลของรูปแบบการคัดกรองสายตาในชุมชนด้วย แนวคิด 333 ในการป้องกันตาบอดจากโรคต้อกระจก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2561; 3(3),10-8.
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, นวพล กาญจน์รัณย์. ตำราปฏิบัติการและหัตถการทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2559.
Orem DE. Nursing concepts of prac tice. 3rd ed. New York: McGraw_Hill; 1985.
Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Principles and Methods. 7th ed, Lippincott Williams & Wilkins: Philadelphia; 2004.
Guo SHM, Chang HK, Lin CY. Impact of
Mobile Diabetes Self-Care System on patients’ knowledge, behavior and efficacy. Computers in Industry 2015; 29(C):22–
Mohammadpour A, Sharghi NR, Khosravan S, Alami Z, Akhond M. The effect of a supportive educational intervention developed based on the Orem's self-care theory
on the self-care ability of patients with myocardial infarction: a randomised controlled trial. J Clin Nurs 2015;24(11-12): 686-92. doi: 10.1111/jocn.12775
กมนวรรณ นิลเอก, รุ่งนภา จันทรา. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 4 โรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ 2562; 33(2):143-56.
พัชรา เสถียรพักตร์, โสภาพันธ์ สอาด, รุจิตรา วันวิชา, อัครภา เกื้อสุวรรณ. ประสิทธิผลของการอบรมการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงโดยใช้สื่อแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ต่อระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแล มหาวิทยาลัยปทุมธานีโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30(1):47-56.