ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่รับการรักษาแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก สุนทร โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ธภัคนันท์ อินทราวุธ โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ทัศนีย์ บุญอริยเทพ โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ธนากร แก้วสุทธิ โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • รุ่งกิจ ปินใจ โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

บทนำผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งมักมีความต้องการการดูแลทางการแพทย์ การช่วยเหลือทางทางกายและจิตใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เป็นภาระหนักและส่งผลต่อผู้ดูแลหลายด้าน อาจทำให้ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วย

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

วิธีการศึกษา:  การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่เข้ารับปรึกษาที่คลินิกดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลร้องกวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบภาวะเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิตและแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา:  ผู้ดูแล 85 รายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.1) อายุเฉลี่ย 49.3 ปี พบความชุกของภาวะเครียดปานกลางถึงมาก ร้อยละ 50.6 และพบความชุกของภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 49.4 จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดด้วย multivariate logistic regression พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องดูแลมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน (OR=11.73, 95%CI=1.32-103.93, p=0.03) และ ผู้ดูแลที่ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร (OR=13.55, 95%CI=1.31-139.75, p=0.03) อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลกับการมีภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าด้วย multivariate logistic regression

สรุป:  ภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าพบได้ค่อนข้างมากในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จึงควรมีการสำรวจและประเมินภาวะเหล่านี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและนำผู้ที่ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วเหมาะสม

คำสำคัญ:  ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, ผู้ดูแลผู้ป่วย, ภาวะเครียด, ภาวะซึมเศร้า

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565). 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก www.nci.go.th

จรูญศรี มีหนองหว้า, พรรณทิพา แก้วมาตย์, สอาด มุ่งสิน, เยาวเรศ ประภาษานนท์, อุดมวรรณ วันศรี, ญาณี แสงสาย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;24(2):37-47.

รัชนีกร ใจคำสืบ, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. สุขภาวะทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;11(1):213-23.

กัญญาณัฐ สุภาพร. ภาระในการดูแลและปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะประคับประคอง ที่บ้าน. วารสารเกื้อการุณย์ 2563;27(1):150-61.

วริสรา ลุวีระ. การดูแลสุขภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(2):266-70.

หทัยทิพย์ เจริญศรี, จิราพร เขียวอยู่. ความชุกของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชากร อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มข. 2560;17(3):77-93.

Govina O, Vlachou E, Kalemikerakis I, Papageorgiou D, Kavga A, Konstantinidis. Factors Associated with Anxiety and Depression among Family Caregivers of Patients Undergoing Palliative Radiotherapy. Asia Pac J Oncol Nurs 2019;6(3):283-91. doi: 10.4103/apjon. apjon_74_18.

Rhee YS, Yun YH, Park S, Shin DO, Lee KM, Yoo HF, et al. Depression in family caregivers of cancer patients: the feeling of burden as a predictor of depression. J Clin Oncol 2008;26(36):5890-5.

สุชีรา อมรมหพรรณ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่รับการรักษาแบบประคับ ประคอง. ร้อยเอ็ดเวชสาร 2562;6(2):27-36.

Oliver DP, Albrigh DL, Washington K, Wittenberg-Lyles E, Gage A, Mooney M, et al .Hospice caregiver depression:The evidence surrounding the greatest pain of all. J Soc Work End Life Palliat care 2013;9(4):256-71. doi: 10.1080/15524256. 2013.846891.

วิษณุ มงคลคำ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เขตพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาลนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563;10(2):291-306.

Oliver DP, Washington K, Smith J, Uraizee A, Demiris G. The Prevalence and risks for depression and anxiety in hospice caregivers. J Palliat med 2017;20(4):366-71. doi: 10.1089/jpm.2016.0372.

Geng HM, Chuang DM, Yang F, Yang Y, Liu WM, Liu LH, et al. Prevalence and determinant of depression in caregivers of cancer patients. Medicine (Baltimore) 2018; 9:97(39):e11863. doi: 10.1097/MD. 0000000000011863.

Gotze H, Brahler E, Gansera L, Polze N, Kohler N. Psychological distress and quality of life of palliative cancer patients and their caring relatives during home care. Supportive Care Cancer 2014; 22(10):2775-82.

Aubaidi ZSA, Ariffin F, Oun CTC, Katiman D. Caregiver burden among informal caregivers in the largest specialized palliative care unit in Malaysia: a cross sectional study. BMC Palliat Care 2020;19:186.

Nipp RD, Fishbein J, EI-Jawahri A, Pirl WF, Moran SMC, McCart C. Depression and anxiety among family caregivers of patients with advanced cancer. Journal of clinical oncology 2015;33(29 suppl):224.

Katende G Nakimera L. Prevalence and correlates of anxiety and depression among family carers of cancer patients in a cancer care and treatment facility in Uganda:a cross sectional study. Afr Health Sci 2017;17(3):868-76.

โรงพยาบาลร้องกวาง. กลุ่มงานเยี่ยมบ้าน. สถิติผู้ป่วยในคลินิกประคับประคอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 2565. แพร่: โรงพยาบาลร้องกวาง; 2565

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยา วิพากษ์. จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;10(39): 3-7.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565.] เข้าถึงได้จาก: www.sorporsor.com

วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง:การปรับ ตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557;20(1):10-22.

อรวิธู กาญจนจารี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, สุปรีดา มั่นคง. บทบาทและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในสถานบริการที่มีการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2560;23(3):328-43.

โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. การดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะท้าย Palliative care. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565.] เข้าถึงได้จาก: https://www.pth.go.th/

Sudore R, Lum HD, You JJ, Hanson LC, Meier DE, Pantilat SZ, et al. Defining advance care planning for adults: A consensus definition from multidisciplinary Dephi Panel. J Pain Symptom manage 2017;53(5):821-32.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. นิติเวชศาสตร์และกฎหมาย การแพทย์. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565.] เข้าถึงได้จาก: https://www.si. mahidol.ac.th/

Lotrakul M, Sumrithe S, aipanish R. Reliability and validity of the Thai version of the PHQ-9. BMC psychiatry 2008, 8:46. doi: 10.1186/1471-244X-8-46.

Silva ARF, Fhon JRS, Rodrigues RAP, Leite MTP. Caregiver overload and factors associated with care provided to patients under palliative care. Invest Educ Enferm.2021;39(1):e10.

ณชนก เอียดสุย, ศุภร วงศ์วทัญญู, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้องอกสมอง ในระยะรอเข้ารับการผ่าตัดสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556;19(3):349-64.

Chua CKT, Wu JT, Wong YY, Qu L, Tan YY, Neo PS, et al. Caregiving and its resulting effects--the care study to evaluate the effects of caregiving on caregivers of patients with advanced cancer in Singapore. Cancers (Basel) 2016;8(11):105. doi: 10.3390/cancers8110105.

ทัศนีย์ บุญอริยเทพ, ธภัคนันท์ อินทราวุธ. ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่ออาการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2566;31(1):100-13.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20

วิธีการอ้างอิง