ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเจ็บปวดและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์

ผู้แต่ง

  • สุทินา วงศ์ฉายา หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลแพร่
  • จิญ แก้วกล้า หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อเป็นผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญความปวดชนิดเฉียบพลัน หากผู้ป่วยได้รับการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน การจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการพยาบาลทำตามแนวทางที่กำหนด กระบวนการโค้ชเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการจัดการความปวดของพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดร่วมกับการโค้ชพยาบาลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเจ็บปวดและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์

วิธีการศึกษาการศึกษากึ่งทดลองชนิดเปรียบเทียบสองกลุ่ม (Quasi-experimental research Independent T-test) โดยใช้แนวคิดการโค้ชของเฮอร์มีเนีย ไอบีร่า เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย จำนวน 8 คน ผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ที่รับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test

ผลการศึกษาพยาบาลวิชาชีพหลังได้รับการโค้ชมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการจัดการความปวดมากกว่าก่อนรับการโค้ชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดร่วมกับการโค้ชพยาบาล (กลุ่มทดลอง) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อการปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวด คะแนนเฉลี่ยความปวด และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการความปวดโดยใช้แนวปฏิบัติเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การโค้ชสามารถทำให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีต่อผู้ป่วย ควรมีการนำกระบวนการโค้ชมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล

คำสำคัญ: ความปวด, การโค้ช, หลังผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

วิจิตรา กุสุมมภ์, ธนันดา ตระการวณิชย์, ภัสพร ขำวิชา, ไพบูลย์ โชติพรัตน์ภัทร, สุนันทา ครองยุทธ, รัตนา จารุวรรโณ, และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์; 2560.

จินตนา พรรณเนตร. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2556; 38(3):158-66.

กรรณิการ์ ฉ่ำพึ่ง, อนัญญา มานิตย์. การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2561;29(1):42-57.

ธิวา สมบัติยานุชิต, ณะดา บิลหยา, ศิวาภร สังข์แก้ว. สภาพและปัญหาการปฏิบัติ ของพยาบาลและความต้องการของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวดแผลผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(1):77-93.

อินทิรา ปากันทะ, เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริลกษณ์ ทูลยอดพันธ์. การพัฒนารูปแบบการประเมินผลลัพธ์การประเมินความปวด โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน 2561;11(1): 129-40.

โรงพยาบาลแพร่. เวชระเบียนหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลแพร่ ประจำปี 2563-2565. แพร่: โรงพยาบาลแพร่; 2565.

ศรีสุดา อัศวพลังกูล, มงคล สุริเมือง. ประสิทธิผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอกอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและผลลัพธ์ทางคลินิก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2564;26(2):139-54.

อิฏฐาพร คำกุ้ม, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. ผลของการโค้ชต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาว. พยาบาลสาร 2560;4(1):1-10.

กรรณิกา อำพน, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2564;38(1):35-46.

เพชรฎา ห้วยเรไร แอชตัน, นิตรา ชาญชัยเดชาชัย, พิชญดา โลลุพิมาน, สุภาพร หงษ์ทอง. ผลของการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้แบบโค้ชเพื่อส่งเสริมความสามารถพยาบาล ห้องผ่าตัดในการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารกองการพยาบาล 2565;49(3):44-57.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20

วิธีการอ้างอิง