ผลของการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน

ผู้แต่ง

  • กัลยา กิติมา โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

บทนำ: การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญและจำเป็นต้องมีระบบการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัญหาการคลอดก่อนกำหนด

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบและประสิทธิผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน

วิธีการศึกษา:    เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกคลินิกสูติ-นรีเวช แผนกผู้ป่วยในตึกสูติ-นรีเวชกรรม และแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 24 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา: รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน ชื่อบัญชี คือ “clinic preterm” เป็นรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาด้วยแผ่นอินโฟกราฟิกและวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับความเสี่ยง ผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ด้านประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า หลังการใช้รูปแบบไลน์แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น และปฏิบัติตนในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และส่วนใหญ่ร้อยละ 93.3 คลอดตามกำหนด ด้านความพึงพอใจต่อรูปแบบพบว่า ทั้งกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และ 4.21)

สรุป:  รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด โดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน ช่วยเสริมสร้างความรู้และส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและเห็นความสำคัญการปฏิบัติตนในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

คำสำคัญ: การเฝ้าระวังและติดตาม, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด, ไลน์แอปพลิเคชัน

เอกสารอ้างอิง

WHO. Preterm birth [Internet]. 2018 [cited 2022 December]; Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth

Cunningham F, Leveno K, Bloom S, Dashe J, Hoffman B & Casey B. Preterm birth. New York: McGraw-Hill Education; 2018.

ธราธิป โคละทัต. ผลกระทบของคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง; 2561.

Hack M, Klein NK, Taylor HG. Longterm developmental outcomes of low birth weight infants. The Future of Childdren 2015;5(1):176-96.

ถวัลยว์งค์ รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี; 2554.

เพียงขวัญ ภูทอง. การดูแลแบบต่อเนื่องเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์2562;10(2):156-68.

รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร, เอกชัย โควาวิสารัช. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2562;7(2): 39-48.

Goldenberg RL. The management of preterm labor. Obstetric & Gynecology 2012;23(100):1020-37.

โรงพยาบาลลำพูน. รายงานความเสี่ยงทางสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

วนิสา หะยีเซะ, นุจรี ไชยมงคล, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, มยุรี ยีปาโล๊ะ. การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์: ผลของการให้ความรู้แอปพลิเคชั่นในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2564;13(1):39-55.

กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(2): 623.-41.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20

วิธีการอ้างอิง