ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ หมื่นโฮ้ง โรงพยาบาลแพร่
  • เฉลิมขวัญ สุฤทธิ์ โรงพยาบาลแพร่
  • ขวัญดาว ดวงแก้ว โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ: การผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดใหญ่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ผู้ป่วยมีปัญหาการฟื้นตัวหลังผ่าตัด การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด จะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์:   เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วย ที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อม เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยชายอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบนัดหมายของระบบทางเดินอาหาร ระบบตับและทางเดินน้ำดีและได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดย   ข้อมูลทั่วไป ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าพิสัยและส่วนเบี่ยงเบน ข้อมูลคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ใช้สถิติ  Mann-Whitney U test

ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง มีคะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) คะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในวันที่1 (x̅ =184.71, SD=5.08) และวันที่ 3 (x̅ =192.28, SD=2.53) ของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของกลุ่มควบคุมในวันที่ 1 (x̅ =171.99, SD=16.48) และวันที่ 3 (x̅ =183.06, SD=10.24)

สรุป: โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง สามารถส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องได้

คำสำคัญ:  การฟื้นตัวหลังผ่าตัด, การส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด, ERAS

เอกสารอ้างอิง

สัญญา โพธิ์งาม, มนพร ชาติชำนิ. การศึกษา การเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับความปวด จำนวน และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี 2563;3(3):49-63.

นลินทิพย์ ลิ่มล้อมวงศ์. ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวชในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสาร วิชาการแพทย์ เขต 11 2560;31(4):633-40.

ปวงกมล กฤษณบุตร. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27(1):39-48.

เพิ่มเพ็ญ น้อยตุ่น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดช่องท้อง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

Carr E, Brockbank K, Allen S, Strick P. Patterns of anxiety In womanundergo inggynaceco logical surgery. J Clin Nurs 2006;15(3):341-52. doi:10.1111/j.1365-27 02.2006.01285.x.

Mitchell M. Patient anxietyand modern elective surgery: Aliterature review. J Clin Nurs 2003;12(6):806-15. doi: 10.1046/j.1365-2702.2003.00812.x.

Girard NJ. Clients havingsurgery. In JM Blackamp, JH Hawks (Eds.). Medical-surgical nursing: Clinical management for positive outcomes. Singapore: Elsevier; 2008.

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปข้อมูลการประกอบราชการ ปี 2563-2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://cmi.healtharea. net/site/index.

โรงพยาบาลแพร่. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ปี 2563-2565. แพร่: กลุ่มงานเวชสาร โรงพยาบาลแพร่; 2566.

Keane M. Encyclopedia & dictionary of medicine, nursing allied health. 5th ed. Philadelphia, W.B.: Saunders; 1992.

Lawrence VA, Hazuda HP, Comell JE, Pederson T, Bradshaw TP, Mulrow CD & et al. Functional independence after major abdominal surgery in the elderly. J Am Coll Surh 2004;199(5): 762-72.doi:10.1016/j.jamcollsurg.2004.05. 280.

Adamina M, Kehlet H, Tomlinson GA, Senagore AJ, Delaney CP. Enhanced recovery pathways optimize health outcomes and resource utilization: A meta-analysis of randomized controlled trials in colorectal surgery. Surgery 2011;149(6):830-40.

Myles PS, Hunt JO, Moloney JT. Postoperative minor complication comparison between men and woman. Anesthesia 1997;52(4),300-6.

สิริมนต์ ดำริห์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดฉุกเฉินต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองและคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง แบบฉุกเฉิน [วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

สราวุฒิ สีถาน ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉก. วิชาการ 2559;20(40):101-13.

Lim L, Chow P, Wong CY, Chung A, Chan YH, Wong WK, et al. Doctor-patient commication knoeledge and question promp tlists in reducing re operative anxiety-A randomized control study. Asian J Surg 2011;34(4):175-80. doi;10.1016 / j.asisur. 2011.11.002

Wang G, Jiang ZW, Xu J, Gong JF, Bao Y, Xie LF, et al. Fast-track rehabilitation program vs conventional care after colorectal resection: A randomized clinicaltrial. World J Gastroenterol 2011;17(5):671-67.

Robleda G, Roche-Campo F, Sánchez V, Gich I, Baños JE. Postoperative discomfort after abdominal surgery: An observational study. Journal of PeriAnesthesia Nursing 2014;30(4): 272-9. doi:10.1016/j.japan.2014.06. 005.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20

วิธีการอ้างอิง