ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดโดยใช้รูปแบบ DMETHOD ต่อทักษะในการปฏิบัติตัวและความพึงพอใจในบริการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ธิดาลักษ์ แก้วแจ่ม โรงพยาบาลแพร่
  • ศิริกาญจน์ จินาวิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, การพัฒนาคุณภาพ, ปัสสาวะปนเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ:  การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย คือ การช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเอง ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดีที่สุด

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดก่อนและหลังการวางแผนจำหน่าย ทักษะการปฏิบัติตัวระหว่างกลุ่ม และศึกษาความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบ D-METHOD

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ โดยใช้แผนการจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือดที่เข้ารับการรักษาในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G Power 3.1.9.4 เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 3) แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือด และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจบริการพยาบาล

ผลการศึกษา:  ผลการวิจัยพบว่าประชากรที่ศึกษา ทั้งสองกลุ่ม มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็นนิ่วในไต จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ37.84  ทั้งสองกลุ่มมีโรคประจำตัวเป็น HT และ DLP เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ผลคะแนนทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดในกลุ่มทดลองภายหลังการได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบ D-METHOD มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะในการปฏิบัติตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป:  การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยใช้การวางแผนจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD เป็นการจัดระบบการจำหน่ายผู้ป่วยที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้

คำสำคัญ:  การวางแผนจำหน่าย, การพัฒนาคุณภาพ, ปัสสาวะปนเลือด

เอกสารอ้างอิง

American Urological Association. Management of benign prostatic hyperplasia /lower urinary tract symptoms. n.p.: American Urological Association; 2021.

Saleem MO, Hamawy K. Hematuria. n.p.: StatPearls Publishing; 2022. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK534213.

Thaidamrong T. Prostate cancer knowledge. [Internet]. 2020 [cited 2023 Jun 13] Available from: https:// thaiprostatecancer.com/what-term-cause-19092020.

Avellino GJ, Bose S, Wang DS. Diagnosis and management of hematuria. Surgical Clinics 2016; 96(3):503-15. doi: 10.1016/j.suc. 2016.02.007.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ D-METHOD ต่อความพึงพอใจและการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2561;3(3):19-27.

กมนวรรณ นิลเอก, รุ่งนภา จันทรา. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไฟไหม้นํ้าร้อนลวก หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 4 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562;33(2):143-56.

ฉวีวรรณ เกตุน้อย, กุลวดี อภิชาตบุตร, บุญพิชชา จิตต์ภักดี. การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร 2562;47(2):417-26.

พูลสุข จันทรโคตร. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศรีษะ. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;31(2):186-94.

ระวิวรรณ์ โสชมภู, นภาวรรณ มิ่งวงษ์ยาง. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2567; 9(1):445-52.

ดวงทรัพย์ วรรณประเวศ, สหัทยา รัตนจรณะ, สุวดี สกุลคู. ผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายตามทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย ร่วมกันของคิงที่มีต่ออัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำ ความพึงพอใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2556; 2013:21(4):1-13.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30

วิธีการอ้างอิง