ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ศุภางค์ ดำเกิงธรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด โรงพยาบาลแพร่
  • เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทนำ:           การผ่าตัดเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลและรักษาของแพทย์ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกลัวการผ่าตัด การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเพื่อประเมินและเตรียมผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ยังพบปัญหาว่าการสอนผู้ป่วยยังมีความแตกต่างกัน ไม่ครบถ้วน ดังนั้นหากมีการนำสื่อวีดีทัศน์มาใช้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึก จะช่วยเพิ่มความรู้และช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาผลของสื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึก ในผู้ป่วยผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลแพร่ 

วิธีการศึกษา:    กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกที่เข้ารับการผ่าตัดที่กรณีไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลแพร่ จำนวน 48 ราย ระยะเวลาการศึกษา คือ เดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ผู้วิจัยพัฒนา สื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึก ประกอบข้อความ ภาพนิ่ง และเสียงบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับชนิดการให้ยาระงับความรู้สึก การปฏิบัติตัวก่อน-ขณะ และหลังได้รับยาระงับความรู้สึก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก มีการทดสอบความรู้และความวิตกกังวลก่อนและหลัง ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้ชมสื่อวีดีทัศน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คะแนนการทดสอบที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติทดสอบ paired t-test และ sign rank test

ผลการศึกษา:    พบว่าคะแนนความรู้โดยรวมกลุ่มตัวอย่างเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม และคะแนนความวิตกกังวลกลุ่มตัวอย่างลดลงกว่ากลุ่มควบคุม ควรมีการส่งเสริมให้นำสื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกไปใช้เพิ่มมากขึ้น

สรุป:              สื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึก ช่วยเพิ่มความรู้และลดความ

วิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับยาระงับความรู้สึก

คำสำคัญ:        สื่อวีดีทัศน์, เตรียมความพร้อมผู้ป่วย, การระงับความรู้สึก, ความรู้, ความวิตกกังวล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง