การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
บทนำ: การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้วยการเสริมสร้างพลังชุมชน ถือเป็นแนวทางสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี ให้แก่ ผู้มีภาวะซึมเศร้าหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย และประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และระดับตำบล อำเภอแม่ทา จำนวน 13 คน ผู้ที่ มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและใช้รูปแบบ จำนวน 109 คน และผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 84 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม แบบ ประเมินสภาพการณ์กลุ่มเสี่ยง และแบบการประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงสถิติด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสถิติ Paired Samples t-test
ผลการศึกษา: รูปแบบการเสริมสร้างพลังชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 4 เสา ได้แก่ เสาที่ 1 ระบบข้อมูล เสาที่ 2 ระบบดักจับ เฝ้าระวัง เสาที่ 3 ระบบป้องกันและบำบัด และเสาที่ 4 ระบบบริหารจัดการ เพื่อสร้างความยั่งยืน ผลลัพธ์การใช้รูปแบบพบว่า ด้านภาวะซึมเศร้าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัว ตายค่อนข้างบ่อย (=1.70) หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง (=0.90) ด้านความเข้มแข็งทางใจ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงค่อนข้างมีความอ่อนแอ ทางใจ (=1.20) หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้มแข็งทางใจที่ดีขึ้น (=1.65) ด้านการรับรู้พลังอำนาจชุมชน ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่มีการรับรู้พลัง อำนาจชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (=2.76) และหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมมีการรับรู้พลังอำนาจในชุมชนอยู่ในระดับมาก (=3.57) ด้านความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้ร่วมใช้รูปแบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (=4.17)
สรุป: รูปแบบการเสริมสร้างพลังชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ และทำให้กลุ่มเสี่ยงรับรู้พลัง ของชุมชน
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ, การเสริมสร้างพลังชุมชน, การฆ่าตัวตาย