การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา ไกรธนสอน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

บทนำ:            การพัฒนารูปแบบการคัดแยกตามลำดับความรุนแรง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลำดับความเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาตามลำดับความเร่งด่วน

วัตถุประสงค์:   เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน และประสิทธิผลของการใช้รูปแบบต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ

วิธีการศึกษา:   เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่คัดแยก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 16 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน แบบสังเกตการจำแนกผู้ป่วย เครื่องมือประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One sample t-test statistic และ Paired t-test statistic ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา:  รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน กำหนดประเภทผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ วิกฤต (Immediate) ได้รับการดูแลรักษาทันที เจ็บป่วยรุนแรง (Emergency) ได้รับการรักษาภายใน 10 นาที เจ็บป่วยปานกลาง (Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 30 นาที เจ็บป่วยเล็กน้อย (Semi-Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 60 นาที และเจ็บป่วยทั่วไป (Non-Urgency) สามารถรอรับการรักษาได้ ภายใน 120 นาที ด้านประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ พบว่าหลังการใช้รูปแบบการคัดแยก ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลีย (เฉลี่ย 0.02 นาที, <0 นาที) ส่วนระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรง (เฉลี่ย 3.13 นาที, ≤10 นาที) เจ็บป่วยปานกลาง (เฉลี่ย 15.27 นาที, ≤30 นาที) เจ็บป่วยเล็กน้อย (เฉลี่ย 22.08 นาที, ≤60 นาที) และเจ็บป่วยทั่วไป (เฉลี่ย 45.56 นาที, ≤120 นาที) น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลวิชาชีพ สามารถปฏิบัติบทบาทอิสระได้ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป:                 การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน สามารถนำไปพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ:         การคัดแยกผู้ป่วย, ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน, ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08

วิธีการอ้างอิง