การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ (CEAMS-65 score)

ผู้แต่ง

  • ธนินท์ จิรโชติชื่นทวีชัย กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:            วัณโรคเป็นโรคติอต่อสำคัญที่กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 30 ประเทศ ที่มีอัตราผู้ป่วย      เสียชีวิตจากวัณโรคสูงสุด จึงมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564  เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอัตราตายของผู้ป่วยวัณโรคที่สูงขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอด    รายใหม่ ณ โรงพยาบาลแพร่ และพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการ    เสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่

วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาที่เก็บข้อมูลในอดีต (retrospective data collection) ศึกษาที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ปัจจัยที่นำมาศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยด้าน อายุ เพศ น้ำหนัก โรคร่วม ระดับอัลบูมินในเลือด รอยโรคจากภาพรังสีทรวงอก และผลตรวจ AFB ทางเสมหะ โดยใช้สถิติทดสอบ Chi-square test (p<0.05) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ และใช้ Fisher’s Exact test เพื่อหาปัจจัยทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ โดยกำหนดระดับค่านัยสำคัญทางสถิติ ที่ p<0.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ 396 ราย โดยมีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษา 72 ราย (ร้อยละ18.18) พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี (Odds ratio 3.49; 95% CI 2.08-5.89; p<0.001) ผู้ป่วยที่มีโรคถุงลมโป่งพองร่วม (Odds ratio 4.14; 95% CI 1.08-15.82; p=0.038) ผู้ป่วยที่ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำกว่า1.5 g/dL (Odds ratio 20.44; 95% CI 5.54-75.39; p<0.001) ผู้ป่วยที่ภาพรังสีทรวงอกพบน้ำในเยื่อหุ้มปอด (Odds ratio 2.28; 95% CI 1.23-4.22; p=0.009) และผู้ป่วยที่ภาพรังสีทรวงอกพบลักษณะวัณโรคข้าวฟ่าง (Miliary Tuberculosis) (Odds ratio 3.84; 95% CI 1.18-12.45; p=0.025)

สรุป:              ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ได้รับการประเมินคะแนนความเสี่ยงว่ามีโอกาสเสียชีวิตสูง (คะแนน ≥5) ควรมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รับไว้ดูแลในโรงพยาบาล ปรึกษา         นักโภชนาการ ติดตามผลเลือดทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตระหว่างการรักษา แต่อย่างไรก็ตามควรมีการ Validate ข้อมูลก่อนนำไปใช้ในทางเวชปฏิบัติ

คำสำคัญ:       วัณโรค, ปัจจัยเสี่ยง, การเสียชีวิต, ปัจจัยทำนายการเสียชีวิต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08

วิธีการอ้างอิง