ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • อรพินธุ์ ปัทมาภรณ์พงศ์ โรงพยาบาลแพร่
  • สิริยาพร จักรทอง โรงพยาบาลแพร่
  • จิญ แกล้วกล้า โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ: อาการท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกสามารถลดความรุนแรงของอาการท้องผูกได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังโรงพยาบาลแพร่

วิธีการศึกษา: การศึกษา interrupted time design ในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังโรงพยาบาลแพร่  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ บันทึกการขับถ่าย อาการรบกวนและวิธีการช่วยขับถ่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ordinal logistic regression analysis และนำเสนอผลของโปรแกรมด้วยค่า risk reduction

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง ลดอาการท้องผูกหรือถ่ายลำบากได้ร้อยละ 93.6 (95%CI=83.5, 97.5, p<0.001) ลดอาการท้องอืดหรือคลื่นไส้ ร้อยละ 90.1 (95%CI=74.8, 96.1, p<0.001) และลดการรับประทานยาระบาย การใช้ยาเหน็บ หรือการสวนอุจจาระได้ร้อยละ 95.0 (95%CI=86.4, 98.2, p<0.001) ระดับความพึงพอใจต่อการดูแลด้วยโปรแกรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 74.5

สรุป: โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดอาการท้องผูก ท้องอืด และลดการสวนอุจจาระได้ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวได้

คำสำคัญ: โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก, โรคกระดูกสันหลัง, ท้องผูก, ถ่ายอุจจาระลำบาก

เอกสารอ้างอิง

Lacy BE, Mearin F, Chang L, Chey WD, Lembo AJ, Simren M, et al. Bowel Disorders. Gastroenterology 2016;150(6): 1393-1407.e5. doi.org/10.1053/j. gastro. 2016.02.031.

Engkasan JP, Sudin SS. Neurogenic bowel management after spinal cord injury: Malaysian experience. J Rehabil Med 2013;45(2):141-4. doi: 10.2340/16501977-1074.

ภูริพงศ์ กิจดำรงธรรม. Chronic Idiopathic Constipation: Current and Future [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: วงการแพทย์ (ศูนย์ข้อมูล CME); 2018 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.wongkarnpat.com/upfilecme/CME-Idiopathic.pdf

โรงพยาบาลแพร่. ระบบสารสนเทศ 2563- 2566. แพร่: หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาล แพร่; 2566.

Hinrichs M, Huseboe J, Tang JH, Titler MG. Research-based protocol Management of constipation. J Gerontol Nurs. 2001;27(2):17-28. doi:10.3928/ 0098-9134-20010201-11.

Maloni JA. Lack of evidence for prescription of antepartum bed rest. Expert Rev Obstet Gynecol. 2011 Jul 1;6(4):385-393. doi: 10.1586/eog.11. 28.

ปองจิตร ภัทรนาวิก, ปาริชาติ จันทร์สุนทราพร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การตอบ สนองต่อความปวดกับความ สามารถในการทำหน้าที่ของข้อเข่าในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 2548;10(2):101-14.

Aurilio C, Pace MC, Pota V, Sansone P. Opioid induced constipation. In: Smith AC, editor. Constipation-Causes, Diagnosis and Treatment. Croatia: In Tech; 2012. p.81–8.

National Institute for Healthand Care Excellent. Opioids in palliative care: safe and effective prescribing of strong Opioids for pain in palliative care of adults. NICE clinical guideline 2012. Retrieved from: https://paliativ ossinfronteras.org/wp-content/uploads/ OPIOIDS-NICE-GUIDELINES2012.pdf

โบตั๋น แสนสุขสวัสดิ์, พรรณวดี พุธวัฒนะ, สุภาพ อารีเอื้อ. การป้องกันและการจัดการอาการท้องผูกในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. Rama Nurs J 2007;13(2):106-24.

องอาจ ไพรสณฆรางกูร. ท้องผูก (constipation). ใน: กำพล กลั่นกลิ่น และคณะ (บก.), อาการ ของโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบjอยและการบำบัด. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรนบุคส์ เซนเตอร์; 2553. หน้า 201-13.

Burch J. Constipation and flatulence management for stoma patients. Br J Community Nurs. 2007;12(10):449-52. doi: 10.12968/bjcn.2007.12.10. 27282.

Staats PS, Markowitz J, Schein J. Incidence of constipation associated with long-acting opioid therapy: a comparative study. South Med J 2004 Feb;97(2):129-34. doi: 10.1097/ 01.SMJ.0000109215.54052.D8.

วาสนา บุตรปัญญา, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ศุภร วงศ์วทัญญู, ภาณุมาศ ขวัญเรือน. ผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกสำหรับผู้ป่วยระบบประสาท. Rama Nurs J 2012;18(2):237-48.

Harrington KL, Haskvitz EM. Managing a patient's constipation with physical therapy. Phys Ther. 2006;8(11):1511-9. doi: 10.2522/ptj.20050347

สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์. ภาวะท้องผูก. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2552;2(1):13-22.

Poungpaka Monmai, Suparb Aree-Ue, Panwadee Putwatana, Viroj Kawinwonggowit. The Effects of a Constipation Prevention Program on Incidence and Severity of Constipation in Hospitalized Elderly undergoing Hip Surgery. J Nurs Sci 2011;29(4):10-17.

จารุพรรณ ลีละยุทธโยธิน. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วชิรสารการพยาบาล 2559; 18(1):1-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20

วิธีการอ้างอิง