ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

1. การลงทะเบียนเป็นสมาชิกวารสาร (Register)

2. การส่งบทความ (Submission)

3. หนังสือรับรองการส่งต้นฉบับ

4. แนวทางการส่งบทความ

5. template การเตรียมต้นฉบับ

ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

        วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์ทางคลินิก โรงพยาบาลแพร่ ยินดีรับเป็นแหล่งเผยแพร่วิชาการทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์คลนิก การสาธารณสุข และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน

การเตรียมต้นฉบับ (Manuscript) ดังนี้

          1. ชื่อเรื่อง ควรสั้นกะทัดรัด ได้ใจความที่ครอบคลุมตรงกับวัตถุประสงค์ และเนื้อเรื่องควรใช้ภาษาไทยให้มากที่สุดยกเว้นคำภาษาต่างประเทศที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนา

          2. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งไม่ต้องมีตำแหน่งทางวิชาการประกอบ ให้ใส่ปริญญาหรือคุณวุฒิสูงสุด (คำย่อปริญญา) ต่อท้ายชื่อ และหน่วยงาน สถานที่ทำงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          3. บทคัดย่อ ให้ย่อเนื้อหาสำคัญที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลข สถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุม เป็นประโยคสมบูรณ์  ส่วนประกอบ คือ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุป และคำสำคัญ มีทั้งบทคัดย่อภาษาไทย ไม่เกิน 250 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 200 คำ พิมพ์ตามหัวข้อ ดังนี้

                    3.1 Title: ชื่อเรื่อง

                   3.2 Background: บทนำ อธิบายความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาทำการวิจัย ศึกษาค้นคว้าของผู้ที่เกี่ยวข้อง

                   3.3 Objective: วัตถุประสงค์ ระบุเฉพาะวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญของการวิจัย เขียนเป็นความเรียง   

                   3.4 Study design: วัสดุและวิธีการ อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือก กลุ่มตัวอย่าง และการใช้เครื่องมือในการวิจัย ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                    3.5 Results: ผลการศึกษา รายงานผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับผลในตารางหือกราฟ เขียนเป็นความเรียง

                    3.6 Conclusion: สรุป สรุปข้อเสนอแนะ การนำไปใช้ประโยชน์ สรุปผลสำคัญในภาพรวมที่ได้จากผลการวิจัยเท่านั้น โดยไม่เขียนข้อความซ้ำกับผลการวิจัย (ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ ให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องสอดคล้องกับผลการวิจัยสำคัญ) ประโยชน์หรือข้อเสนอแนะประเด็นที่สามารถปฏิบัติได้ สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

                    3.7 Keywords: คำสำคัญ คือศัพท์หรือวลี ที่สามารถนำไปใช้เพื่อค้นคว้า 3-5 คำ

บทคัดย่อรายงานผู้ป่วย ให้เขียนเป็นความเรียงที่มา จำนวนผู้ป่วยที่รายงาน ระบุอาการทางคลินิกที่เป็นลักษณะพิเศษ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง ผลการรักษาและระบุประโยชน์ที่ใช้ได้โดยแสดถึงความสำคัญของภาวะผิดปกติ การวินิจฉัยและการรักษา ทั้งนี้ไม่ให้มีการระบุอ้างอิงใดๆ ในบทคัดย่อ และการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ต้องมีความหมายเหมือนกับบทคัดย่อภาษาไทย และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา โดยเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ รายงานผู้ป่วยประกอบด้วย บทำนำรายงาน ผู้ป่วยวิจารณาอาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ข้อคิดเห็น สรุปผล

          4. เนื้อเรื่อง เขียนเป็นลำดับ ได้แก่ บทนำเหตุผลที่ทำการศึกษานี้ วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ผลการศึกษา วิจารณ์ สรุป ข้อเสนอแนะ

                   4.1 บทนำ อธิบายความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาทำการวิจัย ศึกษาค้นคว้าของผู้ที่เกี่ยวข้อง

                   4.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                   4.3 วัสดุและวิธีการ อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และการใช้เครื่องมือในการวิจัย ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                   4.4.4 พิทักษ์สิทธิและจริยธรรมการวิจัย งานวิจัยของท่านต้องผ่านคณะกรรมการพิทักษ์สิทธิและจริยธรรมการวิจัยในหน่วยงานท่านมาให้เรียบร้อย และนำมาใส่ก่อนหัวข้อผลการศึกษา หรือผลการวิจัย โดยต้องระบุเลขที่และหน่วยงานที่ให้การรับรองการวิจัยในมนุษย์ด้วย

                   4.5 ผลการศึกษา รายงานผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับผลในตารางหือกราฟ เขียนเป็นความเรียง ผลที่วิเคราะห์ได้ โดยอาจใช้ตารางหรือกราฟประกอบ เพื่อให้เข้าใจผลการศึกษาได้ชัดเจน

                   4.6 วิจารณ์ อภิปรายผลการวิจัยที่สำคัญตามวัตถุประสงค์การวิจัยและอธิบายเหตุผลของการค้นพบผลการวิจัยในครั้งนี้ และควรอ้างอิงทฤษฎี หรือผลการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

                   4.7 สรุป ควรเขียนสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการวิจัย วิธีการวิจัยอย่างสั้นๆ รวมทั้งผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่อาจนำผลงานการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือข้อเสนอแนะประเด็นที่สามารถปฏิบัติได้ สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

  1. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
  2. เอกสารอ้างอิง

          ใช้ระบบ (Vancouver) ให้ใช้เครื่องหมายเชิงอรรถเป็นหมายเลข โดยใช้หมายเลข (1) สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรกและเรียงต่อไปตามลำดับถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำๆ ให้ใช้หมายเลขเดิม

 

การเขียนอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) 

1. การอ้างอิงบทความจากวารสาร (Articles in Journals)

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article). ชื่อวารสาร (Title of the Journal) ปีพิมพ์ (Year);ปีที่(ฉบับที่):หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (Page).

  1. Kane RA, Kane RL. Effect of genetic testing for risk of Alzheimer's disease. N Engl J Med 2009;361:298-9.
  2. จิราภรณ์ จันทร์จร. การใช้โปรแกรม EndNote: จัดการเอกสารอ้างอิงทางการแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551;52:241-53.
  • ผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ลงชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคแล้วตามด้วย et al.
  1. Furbetta M, Angius A, Sinenes A, Tuveri T, Angioni G, Caminitti F. Prenatal, et al.  diagnosis of beta thalassemia. Br J Haematol 1981;45(1):441-50.
  • บทความที่ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน (Organization as author) ให้ใส่ชื่อหน่วยงาน/สถาบันนัันๆ ในส่วนที่เป็นชื่อผู้เขียน เช่น
  1. World Health Organization. Surveillance of antibiotic resistance in Neisseria gonorrhoeae in the WHO Western Pacific Region. Commun Dis Intell 2002;26:541-5.
  2. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการประกอบอาชีพ. แพทยสภาสาร 2538;24:190-204.
  • บทความที่ผู้แต่งมีทั้งเป็นบุคคลและเป็นหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งและหน่วยงานตามที่ปรากฎในเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น
  1. Savva GM, Wharton SB, Ince PG, Forster G, Matthews FE, Brayne C; Medical Research Council Cognitive Function and Ageing Study. Age, neuropathology, and dementia. N Engl J Med 2009;360:2302-9.
  • บทความที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้เขียนชื่อบทความเป็นส่วนแรกได้เลย เช่น
  1. Control hypertension to protect your memory. Keeping your blood pressure low may guard against Alzheimer's, new research suggests. Heart Advis 2003;6:4-5.

2. การอ้างอิงเอกสารที่เป็นหนังสือหรือตำรา

การอ้างอิงหนังสือทั้งเล่ม

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of Publication): สํานักพิมพ์ (Publisher); ปี (Year).

  • หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบุคคล
  1. Janeway CA, Travers P, Walport M, Shlomchik M. Immunobiology. 5th ed. New York: GarlandPublishing; 2001.
  2. รังสรรค์ ปัญญาธัญญะ. โรคติดเชื้อของระบบประสาทกลางในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2536.
  • หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม (Editor/Compiler)
  1. Norman IJ, Redfern SJ, editors. Mental health care for elderly people. New York: Churchill Livingstone; 1996.
  2. พรเทพ เทียนสิวากลุ, บรรณาธิการ. โลหิตวิทยาคลินิกชั้นสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
  • หนังสือที่ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน (Organization)
  1. Institute of Medicine (US). Looking at the future of the Medicaid program. Washington: The Institute; 1992.
  2. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสำหรับครู. พิมพ์คร้ังที่ 3. นนทบรุี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
  • การอ้างองบทหนึ่งงของหนังสือที่มีผู้เขียนเฉพาะบทและมีบรรณาธิการของหนังสือ (Chapter in a book)
  1. Esclamado R, Cummings CW. Management of the impaired airway in adults. In: Cummings CW, Fredrickson JM, Harker LA, Krause CJ, Schuller DE, editors. Otolaryngology - head and neck surgery. 2nd ed. St. Louis, MO: Mosby Year Book; 1993. p. 2001-19.
  2. เกรียงศกดิ์ จีระแพทย์. การใหสารน้ำและเกลือแร่. ใน: มนตรีตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์ราษฎร์, ประอร ชวลิตธารง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2540. หน้า 424-78.
  • อกสารอ้างอิงที่เป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
  1. Kaplan SJ. Post-hospital home health care: the elderly's access and utilization [dissertation]. St. Louis,MO: Washington University; 1995.
  2. อังคาร ศรีชัยรัตนกลู. การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
  • บทความวารสารบนอิเล็กทรอนิกส์ (Journal article on the Internet)

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article) [ประเภทของสื่อ/วัสดุ]. ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ/cited ปีเดือนวันที่]. เข้าถึงได้จาก/ Available from: http://………….

  1. Annas GJ. Resurrection of a stem-cell funding barrier--Dickey-Wicker in court. N Engl J Med [Internet]. 2010 [cited 2011 Jun 15];363:1687-9. Available from: http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMp101046

ที่มา: จิราภรณ์ จันทร์จร. การเขียนอ้างอิงวิชาการรูปแบบ Vancouver style [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf

ถ้าท่านสนใจส่งบทความมาตีพิมพ์ เราขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบหน้า เกี่ยวกับวารสาร สำหรับนโยบายบทต่าง ๆ วารสาร ในสาขาที่รับ รวมถึง คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง ผู้แต่งจะต้อง ลงทะเบียน เพื่อรับได้สิทธิ์ในการส่งบทความ หรือหากท่านได้เคยลงทะเบียนเป็นผู้แต่งของวารสารนี้แล้วก็จะสามารถ simply เข้าสู่ระบบ และเริ่มขั้นตอนการส่งบทความ