ปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. ของประชาชน ตำบลแม่ยม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • Public Health Technical Officer, Senior Professional Level, Phrea Provincial Public Health Office Phrae Provincial Public Health Office
  • เจริญศักดิ์ เวียงนาค Public Health Technical Officer, Professional Level, Muang District Public Health Office

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมสุขภาพ และระดับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. และ 2) ศึกษาปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป พื้นที่ตำบลแม่ยม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จ านวน 250 คน ทำการสุ่มด้วยการสุ่มอย่างเป็นระบบ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.70-0.93 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับของการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80) และระดับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47) ปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เจตคติต่อการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ2ส. (x1) การมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพ (x2) การรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเอง (x3) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (x4) และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ2ส. (x5) มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.37, 0.36, 0.19, 0.20 และ 0.12 ตามลำดับ โดยทั้ง 5 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ2ส. ได้ร้อยละ 46.30 และมีสมการทำนายจากคะแนนดิบ ดังนี้

พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส. = 9.71 + 0.200 (x1) + 0.25 (x2) + 0.42 (x3) + 0.16 (x4) + 0.08 (x5)

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-07