ประสิทธิผลของกระบวนการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลแม่สาย

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ชัยชุมภู Maesai Hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Design) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลแม่สาย จำนวน 42 คน หัวหน้ า หอผู้ป่วยใน กลุ่มงานการพยาบาล จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพัฒนาแนวทางการพยาบาล จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1 ) แบบสอบถามข้อมูล
ทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบสอบถามสถานการณ์และปัญหาในการป้องกันการแพร ่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน  3) แนวทางการพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน 4) แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ใช้การ
ทดสอบค่าที (t-test) ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย ภายหลังการสร้างแนวทางการพยาบาลและนำลงสู่การปฏิบัติประกอบด้วยการให้การพยาบาล 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การคัดกรอง การแยกผู้ป่วย การทำลายเชื้อประจำวัน และการทำลายเชื้อเมื่อจำหน่ายผู้ป่วย พบว่า การปฏิบัติตามหลังการทดลองร้อยละ 86.75 เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองร้อยละ 63.96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การปฏิบัติการพยาบาลที่ถูกต้องมากที่สุด ได้แก่ การแยกผู้ป่วยร้อยละ 97.99 รองลงมาได้แก่ การทำลายเชื้ออุปกรณ์ของเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมประจำวัน ทำลายเชื้ออุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม เมื่อ
จำหน่ายผู้ป่วยและการคัดกรองตามลำดับ โดยการแยกผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนั้น เกิดจากการกำหนดเตียงให้ชัดเจนในการแยกตามชนิดของเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ง่าย
ต่อการปฏิบัติ แต่ยังพบการแยกผู้ป่วยในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโ ควิดทำให้การจัดสรรเตียงทำได้ยุ่งยาก

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-07