ผลการพัฒนาการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุรุ่งนภา ไชยอาม โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน, ระยะเวลาการรักษาด้วย rt-PA, พยาบาลจัดการรายกรณ

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรงต่อผู้ป่วย การรักษาคือลดอันตรายที่จะเกิดกับเนื้อสมองให้มากที่สุด ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการล่าช้ามีโอกาสเกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน  ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลฝาง และ 2) พัฒนาการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยรายใหม่ที่มีอาการเข้าได้กับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และมีข้อบ่งชี้ในการให้ยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 ถึง28 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแบบประเมินแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินพึงพอใจและสามารถใช้แนวปฏิบัติในระดับมาก ร้อยละ 85.76  ระยะเวลาในการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) เป้าหมาย <60 นาที มีเวลาเฉลี่ย 50.08 นาที คิดเป็นร้อยละ 83.33 และพบผู้ป่วยที่ได้รับยาเกิน 60 นาทีมีอัตราความพิการ/อาการคงที่ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.66 การมีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติได้มีการประเมินอาการเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองได้และมีการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยได้ครบถ้วน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15