การศึกษาสถานการณ์การเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปี 2562-2564 โรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ประสงค มิ่งเมือง โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

Escherichia coli ESBL, ความไวต่อยาต้านจุลชีพ Ceftriaxone

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปี พ.ศ.2562-2564 และรายงานสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
ในปัสสาวะของโรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยรวบรวมผลการเพาะเชื้อจาก
สิ่งส่งตรวจประเภทปัสสาวะทั้งหมด เพื่อนำมามาวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าจากสิ่งส่งตรวจปัสสาวะเพาะเชื้อ จำนวน 450 ตัวอย่าง พบเชื้อ 135 ตัวอย่าง (ร้อยละ 30)  ในปี พ.ศ.2562 พบจำนวนเชื้อทั้งหมด 31 Isolate (ร้อยละ 28.90) ปี พ.ศ.2563 พบจำนวนเชื้อ 47 Isolate (ร้อยละ 29.20) และปี พ.ศ.2564 พบจำนวนเชื้อ 57 Isolate (ร้อยละ 31.30) จำนวน Isolate เชื้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562-2564 พบเชื้อ Escherichia coli จำนวน 46 Isolate (ร้อยละ 34.1), Escherichia coli ESBL จำนวน 38 Isolate (ร้อยละ 28.10), Enterococcus faecalis จำนวน 14 Isolate (ร้อยละ 10.40), Acinetobacter baumannii จำนวน 5 Isolate (ร้อยละ 3.70)
เมื่อทำการศึกษาจำนวน Isolate Escherichia coli  ESBL ซึ่งเป็นจุลชีพดื้อยาพบมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างในระยะเวลา 3 ปี คือ 4, 15 และ 19 isolates ตามลำดับและมีจำนวนมากกว่า Escherichia coli สายพันธุ์ไม่ดื้อยาในปี พ.ศ.2564 จากแบบแผนความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่า เชื้อ Escherichia coli ที่เป็นเชื้อหลักในการก่อโรคทางเดินปัสสาวะ พบว่าเชื้อ
มีความไวต่อยา Amikacin, Amoxcycillin/calv, Immipenem, Meropenem,Piperacillin Tazobactam มากกว่าร้อยละ 50 และมีความไวต่อยาต่ำกว่าร้อยละ 50 ในยา Ampicillin, Ciprofloxacin, Cefazolin, Ceftriaxone ตามลำดับ และพบว่าความไวต่อยา Ceftriaxone
ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพ Generation สูงสุดที่มีใช้ในโรงพยาบาลลอง มีความไวลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 48.60 และร้อยละ 35.30 ตามลำดับ  จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า
เชื้อ Escherichia coli เป็นเชื้อหลักในการก่อโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะผู้ป่วยโรงพยาบาลลอง และพบจำนวนเชื้อ Escherichia coli ESBL ซึ่งเป็นเชื้อดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ รวมทั้งการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมเพื่อความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยและลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03