ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยพะเยา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ภิญญดา นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุทธิชัย ศิรินวล อาจารย์ประจำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ประจวบ แหลมหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมชาย สมชาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อนุกูล มะโนทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, นิสิต

บทคัดย่อ

                การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Descriptive Study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 273 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน

             ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (72.90%) เมื่อพิจารณารายด้านของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพทัศนคติและการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการสนับสนุนกิจกรรมและนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับข้อมูลสนับสนุนด้านสุขภาพต่าง ๆ อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง และ ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตชั้นปีที่ 3 ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยรวมได้ร้อยละ 46.40 (R2 = 0.46, p-value < 0.05) ได้แก่ การได้รับข้อมูลสนับสนุนด้านสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ ดัชนีมวลกาย (BMI) และ ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30