ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบในโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี ศรีวิชัย กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคไส้เลื่อน, ไส้เลื่อนขาหนีบ, การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน

บทคัดย่อ

                การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามปกติและผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ในโรงพยาบาลฝาง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนในกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วย 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคไส้เลื่อนขาหนีบและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด 3) โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบในโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ค่า CVI เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น ตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ ได้แก่ 1) Chi-square และ Fisher’s exact test 2) Paired samples t-test 3) Independent samples t-test ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคไส้เลื่อนขาหนีบก่อน และหลังการได้รับโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วันที่ 0-1 หลังการผ่าตัด และ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนวันที่ 2 หลังการผ่าตัด ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มควบคุมและทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30