ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลวังชิ้น
คำสำคัญ:
โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะตนเอง ศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มใช้โปรแกรมฯ กลุ่มละ 30 ราย ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลกระทบของ COPD ต่อผู้ป่วย แบบประเมินความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันแบบบันทึกผลการตรวจ FEV1, 6-MWD โดยมีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา CVI เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์ ครอนบาร์ค 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยวิธีแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Fisher’s exact test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าสมรรถภาพปอด ภายในกลุ่มใช้โปรแกรมฯ และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯในสัปดาห์ที่ 8 ด้วยสถิติทดสอบ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษาพบว่าสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ผลกระทบของ COPD ต่อผู้ป่วย ในกลุ่มใช้โปรแกรมฯกระทบน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติที่คะแนน 11.60 (p<0.00) ความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน กลุ่มใช้โปรแกรมฯเหนื่อยน้อยกว่าที่คะแนน 1.40 (p<0.00) และผลการวัด 6-MWD ในกลุ่มใช้โปรแกรมฯดีกว่ากลุ่มควบคุมที่คะแนน 303.83 (p=0.03) ส่วนผลการตรวจ FEV1 ในกลุ่มใช้โปรแกรมฯและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกัน (p=0.10)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.