ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลฝาง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจกระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจก และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจกอายุ 60-80 ปี ที่ไม่เคยเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก และต้อกระจกที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่องการดูแลตนเอง แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบประเมินการติดเชื้อในผู้สูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจก โดยมีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา CVI อยู่ระหว่าง 0.98-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.85-0.90 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติที
ผลการการวิจัยพบว่า 1) ภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก 1 สัปดาห์ และภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก 28 วัน ได้แก่ การมีอาการปวดตา น้ำตาไหล และการมีขี้ตา ภายหลังการวิจัยระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และความสามารถในการดูแลตนเอง ภายหลังการวิจัยระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสถิติที เท่ากับ 10.55 และ 8.14 ตามลำดับ
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.