ผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กรณีศึกษาของประชากรเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมมาศ ยศเกษม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
  • นงพะงา ปุ๊ดหล้า พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 80 คน ได้มาอย่างเจาะจง แบ่งเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คนได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แบบประเมินระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินทั้งชุดได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent T-test และ Dependent T-test

ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้นหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงจากระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดลงดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมไปใช้เพื่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรที่มีความเสี่ยงในทุกระดับ การติดตามประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพในระยะยาว

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22