รูปแบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยทีมหมอครอบครัว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา แก้วแสนสาย พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลวังชิ้น

คำสำคัญ:

การติดตามเยี่ยม, ผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยง, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ดูแล พัฒนารูปแบบ และประสิทธิผลของรูปแบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยทีมหมอครอบครัว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ วิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา เกี่ยวกับสภาพการณ์ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยง เมื่อกลับไปอยู่กับครอบครัวพบปัญหาการขาดการรักษาอย่าต่อเนื่อง ขาดยา ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย มีพฤติกรรมการดื่มสุรา/ยาเสพติด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบ มีพฤติกรรมก้าวร้าว และรูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จากการนำรูปแบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยทีมหมอครอบครัว ประกอบด้วย ขั้นตอนก่อนการเยี่ยมบ้าน
การพัฒนาทีมงาน การระบุวัตถุประสงค์การเยี่ยมรวมถึงการเตรียมก่อนการเยี่ยมบ้าน ขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วยการเตรียมแบบบันทึกการเยี่ยม การแบ่งบทบาทหน้าที่ทีมงาน การบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน และขั้นหลังการเยี่ยมบ้าน เป็นการสรุปผลที่ได้จากการเยี่ยมบ้านฯ การวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยรายบุคคล และการวางแผนการเยี่ยมครั้งต่อไป รวมถึงการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล และหลังจากการนำแบบรูปแบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยทีมหมอครอบครัว พบว่าหลังการทดลองคะแนนการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value > 0.05) ส่งผลให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลปฏิบัติถูกต้องในการจัดการตนเอง เพื่อป้องกันอาการกำเริบ และได้รับคำปรึกษาจากทีมหมอครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรูปแบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยทีมหมอครอบครัว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มเสี่ยง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22