การพัฒนาแนวทางการประเมินผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ภานุมาศ มะลิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, กลุ่มงานการพยาบาล รพ.หนองม่วงไข่
  • กรรณิการ์ ชัยนันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, กลุ่มงานการพยาบาล รพ.หนองม่วงไข่
  • นิพิฐพนธ์ แสงด้วง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, แนวทางการประเมินผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการประเมินผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการประเมินผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มีอาการในกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที

ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบประเมินผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย การประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ อาการสำคัญ อาการร่วมอื่นๆ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เวลาที่ส่งผู้ป่วยเข้าห้องฉุกเฉิน เวลาที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  การแปลผลการตรวจ และการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบประเมินผู้ป่วยของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, SD= 0.76) 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบประเมินผู้ป่วยมีความพึงความพึงพอใจต่อแบบประเมิน
ในระดับมาก ( = 4.28, SD= 0.73) และ 4) ค่าเฉลี่ยเวลาการเข้าถึงการได้รับของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยอาการโรคหัวใจขาดเลือดที่ใช้และไม่ได้ใช้แบบประเมินผู้ป่วย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 3.10) โดยกลุ่มที่ใช้แบบประเมินมีเวลาเฉลี่ยเข้าถึงการได้รับของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้แบบประเมิน แสดงให้เห็นว่าแนวทางการประเมินผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการ
คัดกรองประเมินอาการ แยกโรค และเข้าถึงการรักษาได้ทันต่อเวลา ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22