ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำหนังสือเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ ของผู้ป่วยระยะท้ายในคลินิกประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • วราวุทธ สมบูรณ์ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

เจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์, ผู้ป่วยระยะท้าย, คลินิกประคับประคอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร และศึกษาปัจจัยทำนายการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ ของผู้ป่วยระยะท้ายในคลินิกประคับประคอง จำนวน 128 คน ด้วยการสุ่มการสุ่มอย่างง่าย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.70-0.85 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเดี่ยวและการถดถอยพหุโลจิสติก

    ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทำนายที่มีความสัมพันธ์กับการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การเป็นโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้องรัง ประวัติการใส่ท่อช่วยหายใจ การรับรู้เวลาที่เหลืออยู่ ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจ ในการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ (OR = 5.89, 3.54, 2.96, 6.53, 26.60 และ15.88 ตามลำดับ) 2) ปัจจัยที่ร่วมทำนายการเปลี่ยนแปลงของการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ ได้แก่ การเป็นโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้องรัง (DIS) ทัศนคติ (ATT) และความตั้งใจ (INT) มีค่าสัมประสิทธิ์โลจิสติก เท่ากับ -2.29, -0.60 และ -0.60 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายโอกาสการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ได้ ร้อยละ 63.20 และสามารถสร้างสมการทำนายโอกาสของการทำหนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ ดังนี้

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28