การพัฒนารูปแบบการดูแล ส่งต่อและระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อดูแลผู้ป่วย หลังติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนเด่นชัย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิค-19, โรคโควิด-19, ระบบการแพทย์ทางไกล, การติดตามอาการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ DCPH Rapid Smart Refer และระบบการแพทย์ทางไกล 2) ประเมินการเกิดอาการแทรกซ้อน อาการของโรคร่วมของผู้ป่วย Long Covid-19 ที่ได้รับการดูแลผ่านระบบการแพทย์ทางไกล 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ เปรียบเทียบระยะเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล และระยะเวลารอคอยพบแพทย์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกลดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ Long Covid-19 และมีโรคร่วม จำนวน 46 ราย เครื่องมือวิจัย คือ 1) DCPH Rapid Smart Refer Covid-19 ร่วมกับการติดตามอาการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล 2) แบบติดตามอาการของผู้ป่วยผ่านระบบการแพทย์ทางไกล 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 100.00 ได้รับการติดตามผ่านระบบแพทย์ทางไกลแพทย์และพยาบาลสามารถประเมินอาการแทรกซ้อนของภาวะ Long Covid-19 อาการของโรคร่วม ดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวม จัดส่งยาเพื่อรักษาภาวะ Long Covid-19 และรักษาโรคร่วมอย่างถูกต้องครบถ้วน ในรายที่ติดตามอาการแล้วพบว่ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจะได้กลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจการติดตามอาการผ่านระบบแพทย์ทางไกล เพราะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล และลดระยะเวลารอคอยในการพบแพทย์ ด้านบุคลากรทางแพทย์มีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบแพทย์ทางไกล เพราะสามารถตรวจติดตามภาวะแทรกซ้อนหลังติดเชื้อโควิด-19 อาการของโรคร่วมได้เช่นเดียวกับการให้บริการที่โรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.