การวิเคราะห์การคัดภาพออกของระบบการถ่ายภาพทางรังสี แบบดิจิตอล โรงพยาบาลแพร่
คำสำคัญ:
การคัดภาพออก, ระบบภาพทางรังสีแบบดิจิตอลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สาเหตุของอัตราภาพทางรังสีแบบดิจิตอลที่ถูกคัดออกเนื่องจากไม่สามารถนำไปวินิจฉัยโรคได้ และ2) เปรียบเทียบจำนวนภาพทางรังสีแบบดิจิตอลที่ถูกคัดออกเนื่องจากไม่สามารถนำไปวินิจฉัยโรคได้ก่อนและหลังการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานรังสีวิทยา กลุ่มตัวอย่างคือ ภาพทางรังสีแบบดิจิตอลจากเครื่องเอกชเรย์ดิจิตอลยี่ห้อ ACROMA ของห้องเอกซเรย์เบอร์ 1 กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 72,837 ภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้เก็บข้อมูลในห้องเอกซเรย์เบอร์ 1 ยี่ห้อ ACROMA และแบบบันทึกข้อมูลภาพรังสีที่คัดออกในระบบเอกชเรย์ดิจิตอลจำแนกตามสาเหตุการเกิดอวัยวะที่พบและห้องถ่ายเอกซเรย์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ paired sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพทางรังสีแบบดิจิตอลที่ถูกคัดออกเนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้วินิจฉัยโรคได้ก่อนดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานรังสีวิทยา เท่ากับร้อยละ 9.66 โดยเกิดจาก positioning, QA/QC, และ poor inspiration (ร้อยละ 6.05, 1.25, และ 0.99 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ตามตำแหน่งหรือบริเวณของภาพรังสี พบว่า ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ Abdomen/KUB, Pelvis/hip, และ Chest (ร้อยละ 13.25, 9.16, และ 11.89 ตามลำดับ) 2) ผลการเปรียบเทียบความต่างของค่าเฉลี่ยภาพถ่ายทางรังสีที่ถูกคัดออกระหว่างก่อนและและหลังการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานรังสีวิทยา พบว่า ภายหลังการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานรังสีวิทยา จำนวนภาพถ่ายทางรังสีที่ถูกคัดออกลดลงน้อยกว่าก่อนการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานรังสีวิทยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 3.24, p-value = 0.04)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.