ประสิทธิผลของโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ศรีใจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล, แผนคำของบลงทุน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา การจัดทำแผนงบลงทุนประจำปีที่ผ่านมาใช้ระบบการทำงานแบบใช้เอกสาร หรือไฟล์เอกสารอย่างไม่เป็นระบบในการรวบรวมแผน ในปีงบประมาณ 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายจึงได้จัดทำโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน เพื่อช่วยในการสร้างและจัดเก็บฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน ให้สามารถจัดเก็บข้อมูล และเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้ไม่ต้องสร้างแฟ้มข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาความไม่ถูกต้อง ความไม่ทันเวลา พร้อมทั้งยังเป็นแหล่งการจัดเก็บประวัติเอกสารประกอบคำขอของทุกปี และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

วิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study Designs) แบบใช้กลุ่มควบคุม (Control Design Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบงานแผนงานระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้รับผิดชอบงานแผนงานระดับโรงพยาบาล และผู้รับผิดชอบงานแผนงานระดับกลุ่ม หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน/กลุ่ม รวม 80 คน โดยทำการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน และแบบประเมินประสิทธิผลความสำเร็จของระบบสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบสัดส่วน และค่าเฉลี่ย z-test และ t-test

ผลการวิจัย โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน (Capital Plan Database Management System Program) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผล โดยสามารถเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลการจัดทำแผนงบลงทุน ทั้งรายการสิ่งก่อสร้าง (p=0.0002) และรายการครุภัณฑ์ (p<0.0001) พร้อมทั้งสามารถลดระยะเวลาในการจัดส่งแผนของผู้ใช้ได้รวดเร็วมากขึ้น (p<0.001) และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากกว่าระบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุน (Capital Plan Database Management System Program) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สามารถนำมาใช้จัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุนได้อย่างมีประสิทธิผล

เอกสารอ้างอิง

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2563 จาก: https://dol.dip.go.th/download-content/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29

จักรวาล อยู่ภู. (2564). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: กลุ่มงานพัฒนาสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.

ทัศนย์ เกริกกุลธร, ศักดิธัช ทิพวัฒน์, จันทิมา เขียวแก้ว, ธนณัฎฐ์ สากระสันต์ และสุพรรษา พรหมสุคนธ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 2, 61-77.

นิคม ถนอมเสียง. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. เรียกใช้เมื่อ 02 เมษายน 2563 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น:https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf

เนตรนภา ดวงจันทร์. (2563). การจัดทำและวิเคราะห์แผนความต้องการงบลงทุน. ขอนแก่น: สังกัดงานงบประมาณ กองยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. (2561). องค์ประกอบด้านความสำเร็จของระบบสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก: http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/download/160/131/

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. (2564). บทที่6 ภาษาฐานข้อมูล. เรียกใช้เมื่อ 05 เมษายน 2564 จาก e-Learning PSRU: http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=25&chap=2&page=t25-2-infodetail05.html

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดทำคำของบประมาณงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2564 จาก: http://phdb.moph.go.th/main/index/site/16

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2563). สถานการณ์ปัญหาการจัดการข้อมูลแผนคำของบลงทุนเดิม. เชียงราย: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.

สุชารัตน์ เจริญ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการรายงานการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของบุคลากรการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีที่ 26 ฉบับที่ 3, 81-94.

Choi, H., Lee, U., & Gwon, T. (2021, month). Development of a Computer Simulation-based, Interactive, Communication Education Program for Nursing Students. Clinical Simulation in Nursing, 56, 1-9. https://doi.org/10.1016/j.ecns.2021.04.019.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2016). Information systems success measurement. United States: now Publishers Inc.

Dennis, A., Wixom, B. H., & Roth, R. M. (2012). System Analysis and Design 5th Edition. New York: Don Fowley.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01