การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ศรีใจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้, การถ่ายโอนโรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ความเป็นมา จากการศึกษาเบื้องต้น (Pilot study) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 61.8 ยังไม่ตัดสินใจเรื่องการถ่ายโอน โดยเกือบทั้งหมดต้องการข้อมูลที่มากพอประกอบการตัดสินใจ จึงควรมีการเตรียมพร้อมเรื่องการเรียนรู้สำหรับบุคลากรเรื่องการถ่ายโอนให้กับเจ้าหน้าที่ก่อน

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

วิธีการดำเนินการวิจัย การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้แนวทางการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับหลักการพัฒนาหลักสูตรของ Tyler ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การตัดสินใจต่อการถ่ายโอน 2) สร้างหลักสูตรการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร

ผลการวิจัย หลักสูตรการเรียนรู้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ควรมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ดังนี้ ด้านกฎหมาย (Law) ด้านองค์กร (Organize) และด้านบุคคล (Personnel) มีองค์ประกอบ 14 องค์ประกอบ ส่วนประสิทธิผลของรูปแบบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าสัดส่วนผู้ตัดสินใจไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.021) ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และความคิดเห็นด้านความพร้อม มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001, 0.003, 0.03 ตามลำดับ)

สรุป หลักสูตรการเรียนรู้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับบุคลากรสาธารณสุข สามารถนำไปปรับใช้ในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่มากขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). แนวทางการปฏิบัติงาน ด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.). เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/PublicHealthPracticeGuidelines.pdf

เดชกุล มัทวานุกูล. (2563). การวิจัยและพัฒนา. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2564 จาก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเวลเทิร์น: http://curriculum-instruction.com/Download/8.การวิจัยและพัฒนา.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง. (2557). แนวคิดการตัดสินใจ.เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2563. เข้าถึงได้จาก:https://www.gotoknow.org/posts/284784

พลเดช ปิ่นประทีป. (2563). รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 23) “ถ่ายโอนสถานบริการสู่ท้องถิ่น ปี 2562”. เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2563. เข้าถึงได้จาก: https://www.csdi.or.th/2020/09/public-report-23/

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ลือชัย ศรีเงินยวง. (2555). ผลการประเมินภายหลังการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่ อปท. 28 แห่ง. ใน สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย (หน้า 5-6). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2555). มุมมองต่อการถ่ายโอนสถานีอนามัย จากบทเรียนสู่ทางออก. ใน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย (หน้า 7). นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2555). ทิศทางและอนาคตของการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยให้แก่ อปท. ใน สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย (หน้า 4). นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2563). สถานการณ์การตัดสินใจถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2563). สรุปผลการดำเนินงานงานแผนงาน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. เชียงราย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.

อภัญญา อินทรรัตน์ และคณะ. (2558). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริธรรมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารครุศาสตร์, 43(2), 123-140.

Comrey L. and Lee B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, New Jersey: Erlbaum.

Keeves P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement :An international handbook. Oxford : Pergamon Press

Phongpisanu B. (2019). Process of Research and Development in Public Health. International Journal of Clinical Case Studies & Reports, 2(1): 61-65.

Phongpisanu B. (2018). Main Steps of Doing Research and Development in Public Health. Med J Clin Trials Case Stud, 2(10): 000183. DOI: 10.23880/mjccs-16000183.

Phongpisanu, B.. (2021). Main Steps of Doing Research and Development in Public Health: An Observational Study. New Frontiers in Medicine and Medical Research Vol. 14, 80–86.

Phongpisanu, B.. (2021). Techniques of Writing Chapter 1 for Research and Development in Public Health. New Frontiers in Medicine and Medical Research Vol. 14, 65–79.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01 — อัปเดตเมื่อ 2022-08-10

เวอร์ชัน