การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ประสงค์จะเสียชีวิตที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • panu odklun

คำสำคัญ:

รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, มะเร็งปอดระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ประสงค์จะเสียชีวิตที่บ้าน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: มะเร็งเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน ปัญหาที่พบส่วนมากคือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักจะขาดความพร้อมในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโรคในระยะสุดท้าย และผู้ป่วยจำนวนหนึ่งต้องการกลับบ้านและเสียชีวิต

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ต้องการเสียชีวิตที่บ้าน

วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง 30 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น  มีค่าความตรง (IOC) 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และ การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ใช้เวลา 3-5 วัน มี 3 หัวข้อ 9 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนล่วงหน้า คือ (1) วางแผนการดูแลสุขภาพในอนาคต (2) ประชุมระหว่างผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย และทีมผู้ดูแลผู้ป่วย (3) วางแผนการจำหน่าย 2) การดูแลในโรงพยาบาล คือ (1) การพยาบาลผู้ป่วยตามสภาพการณ์ 2) ประเมินและจัดการอาการรบกวนต่าง ๆในผู้ป่วย 3) กระบวนการให้คำปรึกษา 3) การดูแลต่อเนื่อง คือ 1) การดูแลสุขภาพที่บ้าน 2) เวรให้คำปรึกษาผู้ป่วยและญาติทางโทรศัพท์ 3) การดูแลผู้ที่มีความเศร้าโศกจากการสูญเสีย ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยในระดับมากที่สุดในด้าน 1) การวางแผนล่วงหน้า (57.78%) 2) การดูแลในโรงพยาบาล (65.56%) 3) การดูแลต่อเนื่อง (60%)

สรุป: การวางแผนล่วงหน้าช่วยเตรียมให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยอาการทุเลารวดเร็วขึ้น รวมทั้งการให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด

 

คำสำคัญ: รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, มะเร็งปอดระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ประสงค์จะเสียชีวิตที่บ้าน

เอกสารอ้างอิง

กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส และ เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2561). ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้

ครอบครัวมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และความพึงพอใจของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5(1) 124-134.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). นโยบายการต่อสู้กับโรคมะเร็งที่ถูกต้องเพื่อลดอุบัติการณ์ ลดภาวะทุพพลภาพ

และการเสียชีวิตจากมะเร็งในประเทศไทย. https://www.si.mahidol.ac.th/th/

hotnewsdetail.asp?hn_id=2422

พาศนา บุณยะมาน. ผลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลงพร้อมขวด

ระบายสุญญากาศต่อความสามารถในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสงขลา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;

(1) 95 - 103

รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์ และ สุดจิต ไตรประคอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผน

จำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันใน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารสภาการพยาบาล 2557; 29 (2) 101-113

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. รายงานประจำปี 2562. โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี.

วิมาลา อินด้วง และหทัยรัตน์ ใจวังเย็น. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับการวางแผนจําหน่ายใน

ผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะเปลี่ยนผ่าน และระยะสุดท้ายของชีวิต โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร. 2563; 59(3) 149 – 161

Rattanaporn Saelim, Nongluck Vongwisanupong, and Sudchit Triprakong. (2014). Effectiveness

of a Discharge Planning Programme on Self-Care Knowledge and Behavior of Peripheral Arterial Occlusion Patients at Songkhla Nakharin Hospital. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/21122/18302

Jiraporn Phothichai. (2014). Development of Discharge Planning Guidelines for Elderly

Patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, Roi-Ed Hospital. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920235.pdf

Thapanee Khumdinphithak. (2013). Development of Clinical Nursing Practice Guidelines for

Discharge Planning of the Elderly with Hypertension Disease in Medical Wards, Kalasin

Hospital, Kalasin Province. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920237.pdf

Pasna Boonyamarn. (2018). The Effect of Discharge Planning for Modified Radical

Mastectomy Patients with Redivac Drain on Self-Care, Complication, and Satisfaction at Female Surgical Ward, Songkhla Hospital. https://he01.tci-thaijo.org/

index.php/JPMAT/article/view/128085

Mary O'Brien and Barbara Jack. (2009). Barriers to dying at home: the impact of poor

coordination of community service provision for patients with cancer. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20039968/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30