ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ทางสังคมและการรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • แจ่มจันทร์ ทองลาด
  • ธีระพงษ์ พรมจันทร์
  • ภูนรินทร์ สีกุด

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ทางสังคม, การรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเอง, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ทางสังคม การรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.00 รองลงมาคือเพศชาย ร้อยละ 40.00 มีอายุเฉลี่ย 68.40 ปี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 70.00 รองลงมา คือ อายุระหว่าง 70-79 ปี ร้อยละ 28.80 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 91.20 สถานภาพสมรส ร้อยละ 87.50 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 80.00 รองลงมาคือมีรายได้ระหว่าง 1,000 -1,999  บาท ร้อยละ 20.00 อาศัยอยู่บ้านของตนเอง ร้อยละ 85.00 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 82.50 และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 100 การรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 56.20 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 43.80 การรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองทางสังคมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 61.20 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 38.80 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 85.00 โดยมีคุณภาพชีวิตจำแนกรายด้าน ได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านร่างกายในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.50 คุณภาพชีวิต ด้านจิตใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี      ร้อยละ 58.80 คุณภาพชีวิตด้านสังคม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 52.50 คุณภาพชีวิตด้านครอบครัว ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 52.50 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 51.20 คุณภาพชีวิตด้านนันทนาการและงานอดิเรกอยู่ในระดับดีและระดับปานกลางเท่ากัน ร้อยละ 50.00 การรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคม และการรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .45 และ .40, P-value= .00)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-18