ประสิทธิผลของการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การจัดทำงบประมาณรายจ่าย, งบประมาณสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลของการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำสาระสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเป็นข้อเสนอในการพัฒนาแนวทางการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย โดยมีประชากรที่ทำการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 135 หน่วยงาน หน่วยงานละ 1 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.99, SD=0.59) ทัศนคติในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ( =3.98, SD=0.34) ความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ( =3.69, SD=0.05) และประสิทธิผลการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ( =3.99, SD=0.44) เมื่อนำปัจจัย 1) การรับรู้ข้อมูลพื้นฐานด้านงบประมาณสาธารณสุข 2) ทัศนคติในการจัดทำงบประมาณ และ 3) ความพร้อมในด้านต่างๆ อันได้แก่ การมีเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ความรู้และความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และความพร้อมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้ตลอดเวลา มาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขได้ ร้อยละ 47.60
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.