ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • แจ่มจันทร์ ทองลาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด, จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมสุขภาพ, ความฉลาดทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.25 เพศชาย ร้อยละ 35.75 อายุเฉลี่ย 46.70 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 39.21 กก./ม.2 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 49.57 การศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 51.45 มีอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม (ค้าขาย, รับจ้าง) ร้อยละ 49.87 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 9,015.24 บาท กลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 43.65 ด้านที่มีความฉลาดทางสุขภาพระดับสูง ได้แก่ การตัดสินใจ และความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ ร้อยละ 76.23 และ 64.27 ตามลำดับ ระดับปานกลาง ได้แก่ การรู้เท่าทันสื่อ การเข้าถึงข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล ร้อยละ 45.91, 39.31 และ 37.33 ตามลำดับ ระดับต่ำ ได้แก่ การจัดการตนเอง ร้อยละ 36.37 มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.18 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การจัดการตนเองด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การตัดสินใจด้านสุขภาพ และการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .439, .423, .221, .168, .176 และ P-value < .05)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20