การประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • นลินภัสร์ เอกสุภาพันธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร, จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การประเมินศักยภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เพื่อประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2563  กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.25 เพศชาย ร้อยละ 22.75 อายุเฉลี่ย 50.53 ปี สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 83.00 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 76.25 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 38.75 รายได้เฉลี่ยต่อปี 42,842.86 บาท หลังคาเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 11.96 หลังคาเรือนต่อคน ดำรงตำแหน่งเป็นอสม.ทั่วไป ร้อยละ 77.00 ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาได้ผ่านการพัฒนาศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 61.75 และได้รับการอบรมเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ ร้อยละ 92.75 มีประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ ร้อยละ 92.75 การประเมินสุขภาพเบื้องต้น มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 62.89 กิโลกรัม มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 25.34 km/m2 ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์อ้วน ร้อยละ 37.00 เส้นรอบเอวเฉลี่ย 32.29 นิ้ว ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ ร้อยละ 61.00 ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์สูงเล็กน้อย ร้อยละ 71.75 ค่าระดับน้ำตาล อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 71.00 ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ร้อยละ 99.00 และได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในเรื่อง 3อ. 2ส. ร้อยละ 97.75 จากแหล่งข้อมูลข่าวสารการประชุม อบรม หรือสัมมนา ร้อยละ 77.50 มีความรู้เรื่องการจัดการและการเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.25 มีความคิดเห็นต่อการจัดการและการเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ 50.25 มีการดำเนินงานในการเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.75 มีการดำเนินงานในการเป็นผู้นำการจัดการสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.25

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30