การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ณัฐกาญจน์ ริยะบุตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย
  • เพลาพิลาส โคตะพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การสื่อสารความเสี่ยง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และระยะที่ 3 การทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired samples t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.74 ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การใช้แผนที่ความคิด (Mind map) สำรวจแหล่งข้อมูลในชุมชน 2) การอ่านจับใจความสำคัญของใบความรู้และอินโฟกราฟฟิค 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองฝึกทักษะการสื่อสาร 4) การฝึกปฏิบัติเปรียบเทียบและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล 5) การเรียนรู้แบบโครงการฝึกการจัดการตนเองเพื่อควบคุมโรค และ 6) การสร้างความตระหนัก ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ก่อนนำไปใช้หรือส่งต่อให้ผู้อื่น และระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความพร้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P-value < .05)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25