ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 230 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ของความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง เท่ากับ 0.75 และ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติการทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 45.3 มีอายุเฉลี่ย 68.63 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 93.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 65.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,566 บาท มีโรคประจำตัว ร้อยละ 43.5 ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 85.2 กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.6 รองลงมาคือ ระดับดี และระดับไม่ดี ร้อยละ 30.4 และ 30.0 ตามลำดับ การรับรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.1 รองลงมาคือ ระดับไม่ดี และระดับดี ร้อยละ 33.0 และ 3.9 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พบว่า ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.05)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.