ประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบกาย จิต สังคม บำบัดในรูปแบบ 8 ครั้ง
คำสำคัญ:
รูปแบบกาย จิต สังคม บำบัด, การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบกาย จิต สังคม บำบัดในรูปแบบ 8 ครั้ง ที่มารักษา ในโรงพยาบาลขอนแก่น แบบผู้ป่วยนอก จำนวน 331 คน ด้วยวิธีการบำบัดด้วยรูปแบบการบำบัด แบบผู้ป่วยนอก รูปแบบกาย จิต สังคม บำบัดในรูปแบบ 8 ครั้ง และทำการตรวจยาเสพติดในปัสสาวะ เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการบำบัดสามารถหยุดใช้สารเสพติด เครื่องมือที่ใช้คือ คู่มือการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบบผู้ป่วยนอกในรูปแบบดัดแปลงเฉพาะของโรงพยาบาลขอนแก่น ได้ดัดแปลงให้เหลือการบำบัดทั้งหมด 8 ครั้ง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมวิจัย แบบบันทึกการบำบัด แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (บคก.กสธ.) V.2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าสัดส่วน ใช้ Z test for proportion และช่วงเชื่อมั่น 95% CI
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 331 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 88.2 มีอายุ เฉลี่ย 29.87 ปี (SD = 9.03) ชนิดของสารเสพติดที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ยาบ้า ร้อยละ 86.1 ผลการบำบัดรักษา พบว่า สำเร็จ ร้อยละ 79.8 (95% CI : 75.4 ถึง 84.1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหยุดเสพแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ (1) อายุที่ใช้สารเสพติดครั้งแรก (Crude OR = 1.04, 95% CI : 1.01 ถึง 1.09, p-value = 0.042) (2) ระยะเวลาที่ใช้สารเสพติดชนิดหลัก (Crude OR = 0.95, 95% CI : 0.90 ถึง 0.99, p-value = 0.032)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.