ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Suphap wangkhoklang วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
  • Suparada Mokhunthod

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, การมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครอบครัว จำนวน 310 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.9 อายุเฉลี่ย 47.22 ปี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40-45 ปี ร้อยละ 45.5 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 69.0 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 66.1 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 12,842 บาท มีความรู้เกี่ยวการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.0 มีเจตคติในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.0 การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.7 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 59.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ   มูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) อายุ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย และเจตคติในการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.313, 0.241 และ 0.261, p-value < 0.05)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-14