กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน 4.0 จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พัชรา ชมภูวิเศษ Roi-Et Provincial Health Office

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, สมรรถนะ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.0 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และศึกษาประสิทธิผลกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 80 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้และความรอบรู้ด้านสุขภาพ            แบบประเมินการมีจิตอาสาและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95%

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับมาก     ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด โดยเฉพาะความสามารถใช้แอปพลิเคชัน Smart อสม. และใช้แอปพลิเคชันในการคัดกรองและประเมินสุขภาพ; กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 3) การลงมือปฏิบัติ และ 4) การประเมินผล สะท้อนกลับ และหลังการพัฒนา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้มากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4.97 คะแนน (95%CI= 4.97 - 4.58) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ มากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่า 4.97 คะแนน (95%CI=3.81 - 6.13) และคะแนนเฉลี่ยการมีจิตอาสาและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มากกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนมากกว่าเท่ากับ 1.78 คะแนน (95%CI=1.54 - 2.01)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-14