ผลการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของ อสม.จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในป้องกันโรคโควิด-19 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครพนม จำนวน 369 คน ทำการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยได้รับกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่ การสาธิตและการฝึกปฏิบัติตน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.20 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ช่วงเชื่อมั่น 95%CI ของค่าเฉลี่ยผลต่างอยู่ระหว่าง 1.39 ถึง 1.57 คะแนน และมีระดับพฤติกรรมในการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.89 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ช่วงเชื่อมั่น 95%CI ของค่าเฉลี่ยผลต่างอยู่ระหว่าง 1.85 ถึง 1.91 คะแนน
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.