ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นันทภัค สุหงษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าแดง, อุบลราชธานี 34000

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019    ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี       กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคที่พัฒนาขึ้น จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุม ได้รับโปรแกรมตามปกติ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test for Independent samples ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ฯ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวัง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ (3 กรกฎาคม 2565)

จุฑามาส ขุมทอง และวิทยา จันตุ. (2564). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 39-48.

พัชราวดี คุณอุดม, อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุนีย์ ละกำปั่น และสุธรรม นันทมงคล. (2555). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาที่มีบุตรอ้วน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(3), 31-44.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดอุบลราชธานี. เข้าถึงได้จาก http://mis.phoubon. in.th/web/ (2 กรกฎาคม 2565)

ธนาศักดิ์ เปี่ยมสิน. (2564). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรนุช ชูศร, ปณวัตร สันประโคน และศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 34(3), 77-88.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-17